วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การถ่ายโอนพลังงานความร้อน

การถ่ายโอนพลังงานความร้อน การถ่ายโอนพลังงานความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนระหว่างที่สองแห่งที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน วิธีการถ่ายโอน พลังงานความร้อนแบ่งได้เป็น 3 วิธี ดังนี้
1. การถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของวัตถุจาก ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่วัตถุที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนความร้อนไม่ได้เคลื่อนที่ เช่น การนำแผ่นอะลูมิเนียมมาเผาไฟ โมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียมที่อยู่ใกล้เปลวไฟจะร้อนก่อนโมเลกุลที่อยู่ไกลออก ไป เมื่อได้รับความร้อนจะสั่นมากขึ้นจึงชนกับโมเลกุลที่อยู่ติดกัน และทำให้โมเลกุลที่อยู่ติดกันสั่นต่อเนื่องกันไป ความร้อนจึงถูกถ่ายโอนไปโดยการสั่นของโมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียม
โลหะ ต่างๆ เช่น เงิน ทอง อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นวัตถุที่นำความร้อนได้ดี จึงถูกนำมาทำภาชนะในการหุงต้มอาหาร วัตถุที่นำความร้อนไม่ดีจะถูกนำมาทำฉนวนกันความร้อน เช่น ไม้ พลาสติก แก้ว กระเบื้อง เป็นต้น
2. การถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยวัตถุที่เป็นตัวกลางในการพาความร้อนจะเคลื่อนที่ ไปพร้อมกับความร้อนที่พาไป ตัวกลางในการพาความร้อนจึงเป็นสารที่โมเลกุลเคลื่อนที่ได้ง่าย ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส ลมบกลมทะเลเป็นการเคลื่อนที่ของอากาศที่พาความร้อนจากบริเวณหนึ่งไปยัง อีกบริเวณหนึ่ง การต้ม การนึ่ง และการทอดอาหารเป็นการทำให้อาหารสุกโดยการพาความร้อน
3. การถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น การแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์มายังโลก การแผ่รังสีความร้อนจากเตาไฟไปยังอาหารที่ปิ้งย่างบนเตาไฟ เป็นต้น
สมดุลความร้อน
สมดุลความร้อน หมาย ถึง ภาวะที่สารที่มีอุณหภูมิต่างกันสัมผัสกัน และถ่ายโอนความร้อนจนกระทั่งสารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน (และหยุดการถ่ายโอนความร้อน) เช่น การผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็นเข้าด้วยกัน น้ำร้อนจะถ่ายโอนพลังงานความร้อนให้กับน้ำเย็น และเมื่อน้ำที่ผสมมีอุณหภูมิเท่ากัน การถ่ายโอนความร้อนจึงหยุด
การดูดกลืนความร้อนของวัตถุ
วัตถุ ทุกชนิดสามารถดูดกลืนพลังงานรังสี การดูดกลืนพลังงานรังสีของวัตถุเรียกว่า "การดูดกลืนความร้อน" จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์พบว่า วัตถุที่มีผิวนอกสีดำทึบหรือสีเข้ม จะดูดกลืนความร้อนได้ดี วัตถุที่มีผิวนอกสีขาวหรือสีอ่อนจะดูดกลืน ความร้อนได้ไม่ดี
ใน ทำนองตรงกันข้าม วัตถุที่มีความร้อนทุกชนิดสามารถคายความร้อนได้เช่นกัน โดยวัตถุที่มีผิวนอกสีดำจะคายความร้อนได้ดี และวัตถุที่มีผิวนอกขาวจะคายความร้อนได้ไม่ดี
ใน ชีวิตประจำวันใช้ประโยชน์จากสมบัติของการดูดกลืนความร้อนและการคายความร้อน ของวัตถุในการเลือกสีทาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ชุดนักดับเพลิงมีสีสว่างและแวววาวเพื่อไม่ให้รับพลังงานความร้อนมากเกินไป บ้านเรือนที่อยู่อาศัยในเขตร้อนนิยมทาด้วยสีขาว เป็นต้น
การขยายตัวของวัตถุ
วัตถุ บางชนิดจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนและจะหดตัวเมื่อคายความร้อน การขยายตัวของวัตถุเป็นสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุ อัตราส่วนระหว่างขนาดของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงไปกับขนาดเดิมของวัตถุต่อ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เรียกว่า "สัมประสิทธิ์ของการขยายตัว" วัตถุใดที่มีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวมากจะขยายตัวได้มากกว่าวัตถุที่มี สัมประสิทธิ์การขยายตัวน้อย เช่น ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศเดียวกัน สังกะสี ตะกั่ว อะลูมิเนียม จะขยายตัวได้มากไปน้อย ตามลำดับ
ความ รู้เรื่องการขยายตัวของวัตถุเมื่อได้รับความร้อนถูกนำไปใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง เช่น การเว้นรอยต่อของรางรถไฟ การเว้นช่องว่างของหัวสะพาน การประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ และการติดตั้งเทอร์มอสแตตไฟฟ้า เพื่อใช้ควบคุมระดับอุณหภูมิของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/18.htm

เมฆ

เมฆ
เมฆ คือน้ำในอากาศระดับสูงที่อยู่ในลักษณะหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง เกิดจากไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ เมื่ออุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
ชนิดของเมฆ
เมื่อใช้ระดับความสูงเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเมฆจะแบ่งเมฆออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. เมฆระดับต่ำ เกิดที่ความสูงต่ำกว่า 2 กิโลเมตร ได้แก่
1.1 เมฆสเตรตัส มีลักษณะเป็นชั้นหรือเป็นแผ่นทึบ กระจายอยู่ทั่วไป
1.2 เมฆสเตรโตคิวมูลัส มีลักษณะเป็นแผ่น เป็นลอนกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ
2. เมฆระดับกลาง อยู่ที่ระดับความสูง 2-5 กิโลเมตร ได้แก่
2.1 เมฆอัลโตสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ต่อเนื่องกัน มีสีเทาหรือสีน้ำเงินอ่อนแผ่กระจายครอบคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง
2.2 เมฆอัลโตคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวหรือสีเทามีลักษณะเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ประกอบด้วยเมฆก้อนขนาดเล็กๆ มากมาย เกิดหลังจากอากาศแปรปรวนผ่านพ้นไป
2.3 เมฆนิมโบสเตรตัส มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นชั้น มีสีเทาค่อนข้างต่ำ ถ้ามีเมฆชนิดนี้เกิดขึ้น มักจะมีฝนหรือหิมะตกแผ่เป็นบริเวณกว้าง แต่ตกไม่หนักมากนัก


3. เมฆระดับสูง อยู่ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 5-10 กิโลเมตร ได้แก่
3.1 เมฆเซอรัส เป็นเมฆสีขาว เป็นปุยคล้ายใยไหม ค่อนข้างโปร่งแสง มีลักษณะเป็นเส้นๆ ต่อเนื่องกันคล้ายขนนก3.2 เมฆเซอโรสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นสีขาวโปร่งแสง เป็นฝ้าบางๆ ราบเรียบเสมอกัน ทำให้เกิดวงแสงหรือการทรงกลดขึ้นรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เสมอ3.3 เมฆเซอโรคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวแผ่นบางๆ ไม่มีเงาปรากฏขึ้นในก้อนเมฆ บางส่วนของเมฆมีลักษณะคล้ายระลอกคลื่นเล็กๆ และเป็นเส้นผสมกัน


นอกจากนี้ยังมีเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศเหนือพื้นดินได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นและเกิดเป็นเมฆ เมฆชนิดนี้ ได้แก่ เมฆคิวมูลัสและเมฆคิวมูโลนิมบัส
1. เมฆคิวมูลัส เป็นเมฆที่ลอยตัวขึ้นช้าๆ พร้อมกับอากาศที่ลอยตัวสูงขึ้น ถ้าขนาดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดจะกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งจัดเป็นเมฆฝนชนิดหนึ่ง
2. เมฆคิวมูโลนิมบัส หรือเมฆฝนฟ้าคะนอง เป็นเมฆรูปทั่งขนาดใหญ่ ยอดเมฆมีลักษณะคล้ายขนนก พบได้บ่อยครั้งในฤดูร้อน และมักจะปรากฏพร้อมกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง


ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/20.htm

ฝน

ฝน
ฝนเป็นน้ำที่เกิดจากกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศที่รวมกันเป็นเมฆกลายเป็นหยดน้ำ เมื่อหยดน้ำมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากจนอากาศไม่สามารถอุ้มไว้ได้ จึงตกลงมายังพื้นโลกเป็นฝน
การวัดปริมาณน้ำฝน
ปริมาณน้ำฝน หมายถึง ระดับความลึกของน้ำฝนในภาชนะที่รองรับน้ำฝน ทั้งนี้ภาชนะที่รองรับน้ำฝนจะต้องตั้งอยู่ในแนวระดับ และวัดในช่วงเวลาที่กำหนด หน่วยที่ใช้วัดปริมาณน้ำฝนนิยมใช้ในหน่วยของมิลลิเมตร
การวัดปริมาณน้ำฝนจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน (rain gauge)" ซึ่งจะตั้งไว้กลางแจ้งเพื่อรับน้ำฝนที่ตกลงมา มีหลายแบบดังนี้
1. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบธรรมดา เป็นภาชนะทรงกลมที่ภายในมีกรวยเพื่อรองรับน้ำฝนที่ตกลงมา น้ำฝนที่รวบรวมได้จะไหลลงไปรวมกันในภาชนะรองรับ จากนั้นจึงนำน้ำที่เก็บไว้ในเครื่องมาตวง ก็จะทราบปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้ แต่เครื่องวัดน้ำฝนแบบนี้อาจได้ค่าแสดงปริมาณน้ำฝนคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เนื่องจากน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนอาจระเหยไป และถ้ามีฝนตกลงมาน้อยกว่า 2.5 มิลลิเมตร จะวัดได้ยากมาก
2. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบป้องกันการระเหยของน้ำฝน โดยใช้ภาชนะทรงกลมตั้งบนหลอดขนาดเล็กสำหรับเก็บน้ำฝน เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบนี้สามารถใช้วัดปริมาณน้ำฝนได้ดี แม้จะมีฝนตกลงมาเพียงเล็กน้อยก็ตาม
3. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบไซฟ่อน (siphon rain gauge) เป็นเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบมาตรฐานที่ทำงานมีประสิทธิภาพดี ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้นำมาใช้และเป็นเครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบอัตโนมัติที่สามารถวัดปริมาณน้ำฝนได้ตลอดเวลา
ฝน (rain) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการที่ละอองไอน้ำในอากาศหรือเมฆจับตัวหรือเกาะกัน จนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอากาศไม่สามารถรองรับไว้ได้อีกจึงตกลงมาเป็นหยด น้ำขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างลงมาตามแรงดึงดูดของโลก
ละอองน้ำฝนหรือฝนที่ตกลงมาเป็นละอองจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหยดน้ำประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
เม็ดฝนที่ตกลงมาขณะฝนตกหนักจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหยดน้ำประมาณ 2 มิลลิเมตร หรืออาจมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้ การเกิดฝนมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ปริมาณไอน้ำในอากาศ ที่มีจำนวนมากจะรวมตัวกันทำให้เกิดเป็นเมฆ จากนั้นก็จะพัฒนาไปเป็นหยดของไอน้ำที่มี น้ำหนักมากขึ้น และตกลงสู่พื้นผิวโลก ยิ่งมีไอน้ำมากปริมาณของ น้ำฝนก็จะยิ่งมาก การตกแต่ละครั้งก็ตกนาน และตกได้บ่อยครั้ง
2. อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ มีส่วนในการรวมตัวกันของไอน้ำ และการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก อุณหภูมิที่สูงจะทำให้น้ำอยู่ในสภาพไอน้ำมากขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงจะทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นเมฆ และถ้าอุณหภูมิลดต่ำลงอีกไอน้ำจะรวมตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก
3. ลมซึ่งเป็นทั้งลมปกติและลมพายุ ลมเป็นปัจจัยในการพัดพาละอองไอน้ำให้ไปรวมกันตามบริเวณต่างๆ เมื่ออุณหภูมิลดลงจะตกลงมาเป็นฝน
# ลมที่เกิดตามปกติของประเทศไทยที่ทำให้เกิดฤดูฝน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้จะพัดพาไอน้ำจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่พื้นที่ของประเทศทำให้เกิดฝนตก เป็นช่วงฤดูกาล
#ลมที่เกิดเป็นกรณีพิเศษ คือ ลมพายุ (ลมพายุไต้ฝุ่น ลมพายุทอร์นาโด ลมพายุเฮอริเคน) ลมพายุจะเกิดขึ้นในมหาสมุทร มีกำลังแรงมาก จะพัดพาเอาไอน้ำจำนวนมหาศาลเข้าสู่พื้นดิน ไอน้ำจะรวมตัวกันตกลงมาเป็นฝนจำนวนมากเป็นระยะเวลายาวนาน
4. ภูเขาและป่าไม้ ภูเขาเป็นส่วนที่สูงขึ้นมาจากผิวโลกจึงเป็นเหมือนกำแพงที่กั้นปะทะให้ไอน้ำมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ป่าไม้จะคายไอน้ำ ทำให้อุณหภูมิต่ำลงและทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก ภูเขาและป่าไม้จึงเป็นบริเวณที่ฝนจะตกมากเป็นพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ไม่มีภูเขาและป่าไม้
ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/21.htm

บรรยากาศ

การพยากรณ์อากาศ
การพยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดหมายสภาวะของลมฟ้าอากาศรวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยใช้สภาวะอากาศปัจจุบันเป็นข้อมูลเริ่มต้น
หน่วยงานของประเทศไทยที่ทำหน้าที่ในการตรวจสภาพอากาศและปรากฏการณ์ธรรมชาติเพื่อการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติ คือ กรมอุตุนิยมวิทยา

ขั้นตอนการพยากรณ์อากาศ
1. ตรวจสภาพอากาศ โดยสถานีตรวจอากาศบนบกหรือทะเล จะตรวจวัดอุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ความกดอากาศ ลม เมฆ หยาดน้ำฟ้า ทัศนวิสัย บอลลูนตรวจสภาพอากาศจะนำเครื่องมือที่จะทำการวัดอุณหภูมิ ความกดอากาศ และความชื้นไปสู่ชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโตสเฟียร์ ดาวเทียมตรวจสภาพอากาศจะอยู่ในชั้นเอกโซสเฟียร์ และสามารถถ่ายภาพพื้นผิวโลก เมฆ และพายุ ส่งข้อมูลมายังสถานีรวบรวมข้อมูลได้
2. สื่อสารข้อมูลที่ได้จากการตรวจสภาพอากาศจากสถานีต่างๆ ไปยังศูนย์พยากรณ์อากาศ
3. เขียนแผนที่อากาศ วิเคราะห์ข้อมูล และพยากรณ์อากาศ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ แล้วส่งข้อมูลการพยากรณ์อากาศไปยังหน่วยงานสื่อสารมวลชน

การอ่านแผนที่อากาศ
แผนที่อากาศ คือ แผนที่ที่แสดงองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ข้อมูลต่างๆ ในแผนที่อากาศได้รับมาจากสถานีตรวจอากาศ แล้วนำข้อมูลมาเขียนเป็นตัวเลข รหัส และสัญลักษณ์ต่างๆ ทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่อากาศจะนำไปใช้ในการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศ ที่จะเกิดขึ้น
ตัวอย่างสัญลักษณ์ทางอุตุนิยมวิทยาบนแผนที่อากาศ
1. เส้นโค้งที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซบาร์ (Isobar) ตัวเลขบนเส้นไอโซบาร์แสดงค่าความกดอากาศที่อ่านได้ซึ่งอาจอยู่ในหน่วยมิลลิบาร์ หรือนิ้วของปรอท
2. เส้นโค้งที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่มีอุณหภูมิของอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซเทอร์ม (Isotherm) ค่าอุณหภูมิอาจบอกในหน่วยองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์ หรือทั้งสองหน่วย
3. อักษร H คือ ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง
4. อักษร L คือ ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ

ภาพตัวอย่างแผนที่อากาศ
ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/23.htm
สมบัติของอากาศ
1. ความหนาแน่นของอากาศ
ความหนาแน่นของอากาศ คือ อัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของอากาศ
• ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างก้น อากาศจะมีความหนาแน่นต่างกัน
• เมื่อระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของอากาศจะลดลง
• ความหนาแน่นของอากาศจะเปลี่ยนแปลงตามมวลของอากาศ อากาศที่มวลน้อยจะมีความหนาแน่นน้อย
• อากาศที่ผิวโลกมีความหนาแน่นมากว่าอากาศที่อยู่ระดับความสูงจากผิวโลกขึ้นไป เนื่องจากมีชั้นอากาศกดทับผิวโลกหนากว่าชั้นอื่นๆ และแรงดึงดูดของโลกที่มีต่อมวลสารใกล้ผิวโลก
2. ความดันของอากาศ
ความดันของอากาศหรือความดันบรรยากาศ คือ ค่าแรงดันอากาศที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดันนั้น
เครื่องมือวัดความดันอากาศ เรียกว่า บารอมิเตอร์
เครื่องมือวัดความสูง เรียกว่า แอลติมิเตอร์
ความสัมพันธ์ระหว่างความดันอากาศกับระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล สรุปได้ดังนี้
1. ที่ระดับน้ำทะเล ความดันอากาศปกติมีค่าเท่ากับความดันอากาศที่สามารถดันปรอทให้สูง 76 cm หรือ 760 mm หรือ 30 นิ้ว
2. เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดของอากาศจะลดลงทุกๆ ระยะความสูง 11 เมตรระดับปรอทจะลดลง
1 มิลลิเมตร
3. อุณหภูมิของอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความสูงในบรรยากาศชั้นนี้พบว่า โดยเฉลี่ยอุณหภูมิจะลดลงประมาณ 6.5 ๐C
4. ความชื้นของอากาศ
ความชื้นของอากาศ คือ ปริมาณไอน้ำที่ปะปนอยู่ในอากาศ
อากาศที่มีไอน้ำอยู่ในปริมาณเต็มที่ และจะรับไอน้ำอีกไม่ได้อีกแล้ว เรียกว่า อากาศอิ่มตัว
การบอกค่าความชื้นของอากาศ สามารถบอกได้ 2 วิธี คือ
1. ความชื้นสัมบูรณ์ คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในอากาศกับปริมาตรของอากาศขณะนั้น
2. ความชื้นสัมพัทธ์ คือ ปริมาณเปรียบเทียบระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลของ ไอน้ำอิ่มตัว ที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์
เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์ เรียกว่า ไฮกรอมิเตอร์ ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ
1. ไฮกรอมิเตอร์แบบกระกระเปียกกระเปาะแห้ง
2. ไฮกรอมิเตอร์แบบเส้นผม
ที่มา http://varee.ac.th/v2/kruju/2009/12/12/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/
บรรยากาศ
หน่วยที่ 1 อากาศที่ห่อหุ้มโลก
1. ความสำคัญของบรรยากาศ
บรรยากาศ(Atmosphere) หมายถึง อากาศที่อยู่รอบตัวเราและห่อหุ้มโลกไว้ทั้งหมด
อากาศ(Weather) หมายถึง บรรยากาศบริเวณใกล้ผิวโลก และที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
ความสำคัญของบรรยากาศ
· ช่วยทำให้เกิดกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
· ช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
· ช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลต
· ป้องกันอนุภาคต่างๆ ที่มาจากนอกโลก
· ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
2. ส่วนประกอบของอากาศ
อากาศแห้ง คือ อากาศที่ไม่มีไอน้ำผสมอยู่เลย
อากาศชื้น คือ อากาศที่ไอน้ำผสมอยู่
1. ส่วนประกอบของอากาศแห้ง
<!--[if !vml]--><!--[endif]-->
2. ส่วนประกอบของอากาศชื้น
<!--[if !vml]--><!--[endif]-->
ส่วนประกอบของอากาศชื้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่ เช่น ชายทะเล ภูเขา ป่าไม้ ชุมชน พื้นที่อุตสาหกรรม
3. การแบ่งชั้นบรรยากาศ
· การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเกณฑ์ แบ่งได้ 5 ชั้น
1. โทรโพสเฟียร์(Troposphere) สูงจากพื้นดินสูงขึ้นไป 10 กิโลเมตร มีลักษณะดังนี้
· มีอากาศประมาณร้อยละ 80 ของอากาศทั้งหมด
· อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 6.5 C ต่อ 1 กิโลเมตร
· มีความแปรปรวนมาก เนื่องจากเป็นบริเวณที่ไอน้ำ เมฆ ฝน พายุต่างๆ ฟ้าแลบฟ้าร้องและฟ้าผ่า
2. สตราโทสเฟียร์(Mesosphere) อยู่สูงจากพื้นดิน 10-50 กิโลเมตร มีอากาศเบาบาง มีเมฆน้อยมาก เนื่องจากมีปริมาณไอน้ำน้อยอากาศไม่แปรปรวน เครื่องบินบินอยู่ในชั้นนี้ มีแก๊สโอโซนมาก ซึ่งอยู่ที่ความสูงประมาณ 25 กิโลเมตร ช่วยดูดกลืนรังสีอัตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ไว้บางส่วน
3. มีโซสเฟียร์(Mesosphere) สูงจากพื้นดินประมาณ 50-80 กิโลเมตร อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นสุดเขตของบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่า มีโซพอส ซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ -140 C เป็นบรรยกาศชั้นที่ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลก
4. เทอร์โมสเฟียร์(Thermosphere) อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 80-500 กิโลเมตร ดาวตกและอุกาบาตร จะเริ่มลุกไหม้ในบรรยากาศชั้นนี้ อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 80-100 km จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลง โดยทั่วไป อุณหภูมิจะอยู่ในช่วง 227-1,727 C บรรยากาศชั้นนี้มีความหนาแน่นของอนุภาคต่างๆ จางมาก แต่แก๊สต่างๆ ในชั้นนี้จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่ประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางความถี่ได้ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ไอโอโนสเฟียร์(Ionosphere)
5. เอกโซสเฟียร์(Exosphere) อยู่ในระดับความสูงจากผิวโลก 500 กิโลเมตรขึ้นไป ไม่มีแรงดึงดูดของโลก ดาวตกและอุกบาตรจะไม่ลุกไหม้ในชั้นนี้ เนื่องจากมีแก๊สเบาบางมาก จนไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศ
· การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติทางอุตุนิยมวิทยาเป็นเกณฑ์
1. บริเวณที่มีอิทธิพลของความฝืด อยู่สูงจากผิวโลกประมาณ 2 กิโลเมตร
2. โทรโพสเฟียร์ชั้นกลางและชั้นบน อุณหภูมิชั้นนี้จะลดลงอย่างสม่ำเสมอตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น
3. โทรโพสเฟียร์ อยู่ระหว่างโทรโพสเฟียร์และสตราโทสเฟียร์
4. สตราโตสเฟียร์ มีลักษณะอากาศเหมือนกับสตราโทสเฟียร์ที่แบ่งโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
5. บรรยากาศชั้นสูง เป็นชั้นที่อยู่เหนือสตราโตสเฟียร์ถึงขอบนอกสุดของบรรยากาศ

1. ความหนาแน่นของอากาศ
ความหนาแน่นของอากาศ คือ อัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของอากาศ
Ø ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างก้น อากาศจะมีความหนาแน่นต่างกัน
Ø เมื่อระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของอากาศจะลดลง
Ø ความหนาแน่นของอากาศจะเปลี่ยนแปลงตามมวลของอากาศ อากาศที่มวลน้อยจะมีความหนาแน่นน้อย
Ø อากาศที่ผิวโลกมีความหนาแน่นมากว่าอากาศที่อยู่ระดับความสูงจากผิวโลกขึ้นไป เนื่องจากมีชั้นอากาศกดทับผิวโลกหนากว่าชั้นอื่นๆ และแรงดึงดูดของโลกที่มีต่อมวลสารใกล้ผิวโลก
2. ความดันของอากาศ
ความดันของอากาศหรือความดันบรรยากาศ คือ ค่าแรงดันอากาศที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดันนั้น
เครื่องมือวัดความดันอากาศ เรียกว่า บารอมิเตอร์
เครื่องมือวัดความสูง เรียกว่า แอลติมิเตอร์
ความสัมพันธ์ระหว่างความดันอากาศกับระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล สรุปได้ดังนี้
1. ที่ระดับน้ำทะเล ความดันอากาศปกติมีค่าเท่ากับความดันอากาศที่สามารถดันปรอทให้สูง 76 cm หรือ 760 mm หรือ 30 นิ้ว
2. เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดของอากาศจะลดลงทุกๆ ระยะความสูง 11 เมตรระดับปรอทจะลดลง 1 มิลลิเมตร
3. อุณหภูมิของอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความสูงในบรรยากาศชั้นนี้พบว่า โดยเฉลี่ยอุณหภูมิจะลดลงประมาณ 6.5 C
4. ความชื้นของอากาศ
ความชื้นของอากาศ คือ ปริมาณไอน้ำที่ปะปนอยู่ในอากาศ
อากาศที่มีไอน้ำอยู่ในปริมาณเต็มที่ และจะรับไอน้ำอีกไม่ได้อีกแล้ว เรียกว่า อากาศอิ่มตัว
Ø การบอกค่าความชื้นของอากาศ สามารถบอกได้ 2 วิธี คือ
1. ความชื้นสัมบูรณ์ คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในอากาศกับปริมาตรของอากาศขณะนั้น
2. ความชื้นสัมพันธ์ คือ ปริมาณเปรียบเทียบระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลของไอน้ำอิ่มตัว ที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์
Ø เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์ เรียกว่า ไฮกรอมิเตอร์ ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ
1. ไฮกรอมิเตอร์แบบกระกระเปียกกระเปาะแห้ง
2. ไฮกรอมิเตอร์แบบเส้นผม
เมฆ
1.1 เมฆและการเกิดเมฆ
เมฆ คือ น้ำในอากาศเบื้องสูงที่อยู่ในสถานะเป็นหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง และอาจมีอนุภาคของของแข็งที่อยู่ในรูปของควันและฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมอยู่ด้วย
1.2 ชนิดของเมฆการสังเกตชนิดของเมฆ
กลุ่มคำที่ใช้บรรยายลักษณะของเมฆชนิดต่างๆ มีอยู่ 5 กลุ่มคำ คือ
เซอร์โร(CIRRO) เมฆระดับสูงอัลโต(ALTO) เมฆระดับกลางคิวมูลัส(CUMULUS) เมฆเป็นก้อนกระจุกสเตรตัส(STRATUS) เมฆเป็นชั้นๆนิมบัส(NUMBUS) เมฆที่ก่อให้เกิดฝน
นักอุตุนิยมวิทยาแบ่งเมฆออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. เมฆระดับสูง เป็นเมฆที่พบในระดับความสูง 6500 เมตรขึ้นไป
ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มี 3 ชนิด คือ
Ø เซอร์โรคิวมูลัส
Ø เซอร์รัส
Ø เซอร์โรสเตรตัส
2. เมฆระดับกลาง
Ø อัลโตสเตรตัส
Ø อัลโตคิวมูลัส
3. เมฆระดับต่ำ
Ø สเตรตัส
Ø สเตรโตคิวมูลัส
Ø นิมโบสเตรตัส
4. เมฆซึ่งก่อตัวในทางแนวตั้ง
Ø คิวมูลัส
Ø คิวมูโลนิมบัส
หยาดน้ำฟ้า
หยาดน้ำฟ้า หมายถึง น้ำที่อยู่ในสถานะของแข็งหรือของเหลวที่ตกลงมาจากบรรยากาศสู่พื้นโลก
หมอก(Fog) คือ เมฆที่เกิดในระดับใกล้พื้นโลก จะเกิดตอนกลางคืนหรือเช้ามืด
น้ำค้าง(Dew) คือ ไอน้ำที่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะติดอยู่ตามผิว ซึ่งเย็นลงจนอุณหภูมิต่ำกว่าจุดน้ำค้างของขณะนั้น
จุดน้ำค้าง คือ ขีดอุณหภูมิที่ไอน้ำในอากาศเริ่มควบแน่นออกมาเป็นละอองน้ำ
น้ำค้างแข็ง(Frost) คือ ไอน้ำในอากาศที่มีจุดน้ำค้างต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง แล้วเกิดการกลั่นตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็ง โดยเกิดเฉพาะในเวลากลางคืน หรือตอนเช้ามืด
หิมะ(Snow) คือ ไอน้ำที่กลั่นตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็ง เมื่ออากาศอิ่มตัว และอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
ลูกเห็บ(Hail) คือ เกล็ดน้ำแข็งที่ถูกลมพัดหวนขึ้นหลายครั้ง แต่ละครั้งผ่านอากาศเย็นจัด ไอน้ำกลายเป็นน้ำแข็งเกาะเพิ่มมากขึ้น จนมีขนาดใหญ่มากเมื่อตกถึงพื้นดิน
ฝน(Rain) เกิดจากละอองน้ำในก้อมเมฆซึ่งเย็นจัดลง ไอน้ำกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเกาะกันมาก และหนักขึ้นจนลอยอยู่ไม่ได้ และตกลงมาด้วยแรงดึงดูดของโลก
ปริมาณน้ำฝน หมายถึง ระดับความลึกของน้ำฝนในภาชนะที่รองรับน้ำฝน เครื่องมือปริมาณน้ำฝนเรียกว่า เครื่องวัดน้ำฝน(rain gauge)
ลม
ลม(Wind) คือ มวลของอากาศที่เคลื่อนที่ไปตามแนวราบ
- สภาพอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ
พื้นดินและพื้นน้ำรับและคายความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากันพื้นดินจะรับและคายความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ ในเวลากลางวันอุณหภูมิของพื้นดินจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว พื้นน้ำจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้อากาศเหนือพื้นดินมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ ส่วนในเวลากลางคืนพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้อากาศเหนือพื้นดินมีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ ทำให้เกิดลมขึ้น
- การเกิดลมสาเหตุเกิดลม คือ 1. ความแตกต่างของอุณหภูมิ 2. ความแตกต่างของหย่อมความกดอากาศหย่อมความกดอากาศ(Pressure areas)
Ø หย่อมความกดอากาศสูง หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณข้างเคียง ใช้ตัวอักษร H
Ø หย่อมความกดอากาศต่ำ หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณข้างเคียง ใช้ตัวอักษร L
ชนิดของลม ลมแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ คือ
Ø ลมประจำปีหรือลมประจำภูมิภาค เช่น ลมสินค้า
Ø ลมประจำฤดู เช่น ลมมรสุมฤดูร้อน และลมมรสุมฤดูหนาว
Ø ลมประจำเวลา เช่น ลมบก ลมทะเล
Ø ลมที่เกิดจากการแปรปรวนหรือลมพายุ เช่น พายุฝนฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดกระแสลม
Ø ศรลม
Ø อะนิโมมิเตอร์
Ø แอโรแวน
ผลของปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ของปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
1. การเกิดลมจะช่วยให้เกิดการไหลเวียนของบรรยากาศ
2. การเกิดลมสินค้า
3. การเกิดเมฆและฝน
4. การเกิดลมประจำเวลา
ผลกระทบและภัยอันตราย
1. ผลกระทบจากอิทธิพลของลมมรสุม เช่น น้ำท่วม น้ำท่วมฉับพลัน
2. ผลกระทบจากอิทธิพลของลมพายุ เช่น ต้นไม้ล้มทับ คลื่นสูงในทะเล
การพยากรณ์อากาศและอุตุนิยมวิทยา
การพยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดหมายภาวะของลมฟ้าอากาศและปรากฏารณ์ทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะสั้น ช่วงระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง
2. ระยะปานกลาง ช่วงระยะเวลามากว่า 72 ชั่วโมง จนถึง 10 วัน
3. ระยะนาน ตั้งแต่ 10 วันขึ้นไป
หลักการพยากรณ์อากาศ
ระบบของการพยากรณ์อากาศ แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ
1. ระบบการตรวจอากาศ
2. ระบบการสื่อสาร
3. ศูนย์พยากรณ์อากาศ
ความสำคัญของการพยากรณ์อากาศ
ช่วยให้บุคคลทุกอาชีพมีการเตรียมพร้อมที่จะป้องกันแก้ไขภัยอันตรายหรือความสูญเสียอันเกิดจากปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศได้

ความกดอากาศมาตรฐาน

อากาศมีสถานะเป็นก๊าซ แต่อากาศก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกับของแข็งและของเหลว เราเรียกน้ำหนักซึ่งกดทับกันลงมานี้ว่า “ความกดอากาศ” (Air pressure) ความกดอากาศจะมีความแตกต่างกับแรงที่เกิดจากน้ำหนักกดทับตรงที่ความกดอากาศ มีแรงดันอากาศทุกทิศทาง เช่นเดียวกับแรงดันอากาศในลูกโป่ง เมื่ออากาศเย็นซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน จึงมีความกดอากาศมากกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศสูง” (High pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “H” สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ ในทางกลับกันหากอากาศร้อนก็จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น จึงมีความกดอากาศน้อยกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศต่ำ” (Low pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “L” สีแดง เป็นสัญลักษณ์ นักอุตุนิยมวิทยาใช้เครื่องมือ "บารอมิเตอร์" อย่างละเอียดสำหรับวัดความกดอากาศ หน่วยที่ใช้วัดความกดของอากาศนั้นอาจจะเป็นความสูงของปรอทเป็นนิ้วหรือ เซนติเมตร ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรก็ได้ แต่ในปัจจุบันส่วนมากนิยมใช้หน่วยเป็นมิลลิบาร์ (millibar) เพราะเป็นหน่วยที่สะดวกกว่า ซึ่งเราจะเปรียบเทียบกันได้ตามหลักการคำนวณต่อไปนี้
เศษส่วนของ 1 atmความสูงโดยเฉลี่ย
(เมตร)(ฟุต)
100
1/25,48618,000
1/38,37627,480
1/1016,13252,926
1/10030,901101,381
1/100048,467159,013
1/1000069,464227,899
1/10000096,282283,076
ความกดอากาศเป็น ความกดดันอยู่จุดใดหนึ่งของชั้นบรรยากาศของ โลก โดยทั่วไปความกดอากาศจะประมาณเท่ากับความกดดันที่เกิดขึ้นย้อนน้ำหนักของ อากาศอยู่บนจุดนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า จุดที่มีความกดอากาศต่ำจะมีอากาศที่มีมวลสารต่ำกว่าจะอยู่ข้างบนมัน ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน ความกดอากาศจะต่ำลงเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศที่ความสูงระดับน้ำทะเล จะเท่ากับ 1 atm (หนึ่งหน่วยบรรยากาศ) หรือ 101.325 kPa (กิโลปาสคาล) หรือ 760 mmHg (มิลลิเมตรปรอท)
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8

ความรู้อุตุนิยมวิทยา

บรรยากาศ
อากาศ
อากาศ (air) ที่ห่อหุ้มโลกอยู่ทั้งหมด เรียกว่า บรรยากาศ ส่วนอากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่เฉพาะส่วนเรียกว่า อากาศ อากาศเป็นสิ่งที่อยู่ในสถานะที่เป็นแก๊ส มีส่วนประกอบต่างๆ ในอัตราส่วนที่ต่างกันไป อากาศจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้

รูปแสดงส่วนประกอบของอากาศ
1. ไนโตรเจน (nitrogen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 78 โดยปริมาตร ไนโตรเจนทำให้ออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศไม่เข้มข้น ทำให้การสันดาปซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีลดความรวดเร็วลง ไนโตรเจนในอากาศบางส่วนจะถูกแบคทีเรียที่อยู่ในดิน ในรากพืชบางชนิด ตรึงเอาไปไว้เพื่อประโยชน์ของพืช เมื่อพืชและสัตว์ตายลงจะสลายตัวเป็นไนโตรเจนกลับสู่อากาศอีกครั้ง
2. ออกซิเจน (oxygen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 21 โดยปริมาตร ออกซิเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสันดาป พืชและสัตว์ต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจ (กระบวนการเมแทบอลิซึมของเซลล์) และออกซิเจนเกิดมาจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
3. คาร์บอนไดออกไซด์ (carbondioxide) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 0.04 โดยปริมาตร พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจออกของสิ่งมีชีวิตจะหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ภายนอก
4. แก๊สเฉื่อย (inert gas) เป็นแก๊สที่ไม่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาทางเคมีใดๆ เช่น


1) อาร์กอน (Ar) มีอยู่ในอากาศมากที่สุดในกลุ่มของแก๊สเฉื่อยด้วยกัน มีอยู่ประมาณร้อยละ 0.09 โดยปริมาตร นำไปใช้ในการทำหลอดไฟฟ้าเรืองแสง เพราะพบว่า ถ้านำอาร์กอนกับไนโตรเจนใส่ลงในหลอดไฟฟ้า ไอของอาร์กอนจะทำให้หลอดไฟฟ้า เกิดการเรืองแสงขึ้นได้

2) ฮีเลียม (He) เป็นแก๊สที่มีความหนาแน่นต่ำ นำไปใช้ในการบินของเรือเหาะในยุคก่อน ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว
3) นีออน (Ne) เป็นแก๊สที่เปล่งแสงได้สวยงามเมื่อกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่าน นิยมนำมาทำป้ายโฆษณาในเวลากลางคืน
4) คริปทอน (Kr) และซีนอน (Xe) เป็นแก๊สที่มีน้อยที่สุดในกลุ่มของแก๊สเฉื่อยในอากาศ นำมาใช้ประโยชน์ในการทำไฟโฆษณา
5) ไอน้ำ เป็นส่วนของน้ำที่กลายเป็นไอน้ำเนื่องจากความร้อนของแหล่งความร้อนต่างๆ แล้วไปอยู่ในอากาศเป็นส่วนประกอบของอากาศ ถ้าในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 60 ณ อุณหภูมิ 68 องศาฟาเรนไฮต์ เราจะรู้สึกสบายที่สุด
6) ฝุ่นละออง ในอากาศมีฝุ่นละอองจำนวนไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของอากาศ อื่นๆ ฝุ่นละอองจะเป็นตัวช่วยสะท้อนแสงทำให้แสงจากดวงอาทิตย์สว่างมากขึ้น
7)สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในอากาศจะมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นส่วนประกอบด้วย เช่น แบคทีเรีย รา ไวรัส เป็นต้น
ข้อควรทราบ
-อากาศ เป็นของผสมที่ประกอบด้วยสารแตกต่างกันหลายชนิด เพราะส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงได้ แยกออกจากกันได้ด้วยวิธีทางกายภาพ ออกซิเจนและไนโตรเจนมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับออกซิเจนและไนโตรเจนบริสุทธิ์

# จากผิวโลกสูงขึ้นไปในระยะ 800 - 1,000 กิโลเมตร โดยนับจากระดับน้ำทะเลจัดเป็นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก ถัดจากความสูงนี้ขึ้นไปเป็นบริเวณที่มีอนุภาคต่างๆ น้อยมากและไม่อยู่ภายใต้แรงดึงดูดของโลก เรียกส่วนนี้หรือบริเวณนี้ว่า อวกาศ


รูปแสดงระดับชั้นบรรยากาศและอวกาศ
สมบัติของอากาศ
อากาศมีสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญ คือ
1. เป็นสสาร มีมวล มีตัวตน ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้
2. เป็นของไหลถ่ายเทไปได้ตลอดเวลา อากาศจะไหลจากบริเวณที่มีความกดดันอากาศสูงไปยังบริเวณที่ความกดดันอากาศต่ำ จึงทำให้เกิดลม
3. ทำให้เป็นของเหลวได้โดยการเพิ่มความดันสูงๆ หรือทำให้เย็นจัดๆ อากาศจะเปลี่ยนไปเป็นของเหลว เรียกว่า อากาศเหลว มีลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี
4. อากาศมีความหนาแน่น มีความดัน มีความชื้น และมีระดับอุณหภูมิ
ความหนาแน่นของอากาศ
ความหนาแน่นของอากาศ (density) เป็นอัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของอากาศ
จากการทำการทดลองพบว่า ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงเมื่อความสูงเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ความสูงที่เพิ่มขึ้น 2 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล

ตารางแสดงความหนาแน่นของอากาศในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลและระดับต่างๆ
ความสูงจากระดับน้ำทะเล (km)
ความหนาแน่นของอากาศ (kg/ )
0
2
4
6
8
10
12
14
16
18
20
1.225
1.007
0.819
0.660
0.526
0.414
0.312
0.228
0.166
0.122
0.089
การจัดแบ่งชั้นบรรยากาศ
การจำแนกเพื่อจัดชั้นของบรรยากาศ โดยทั่วไปจะจัดจำแนกตามลักษณะที่มีลักษณะเด่นชัด ตัวอย่างเช่น จัดจำแนกตามอุณหภูมิ จัดจำแนกตามสมบัติของแก๊สที่มีอยู่ จัดจำแนกตามสมบัติทางอุตุนิยมวิทยา

การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ระดับอุณหภูมิเป็นเกณฑ์
การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ระดับอุณหภูมิจะแบ่งชั้นบรรยากาศได้ 4 ชั้น คือ
1. โทรโพสเฟียร์ (troposhere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะดังนี้
1) เริ่มตั้งแต่ผิวโลกขึ้นไปถึงระยะ 10 กิโลเมตร
2) อุณหภูมิจะเปลี่ยนไปตามระดับความสูง โดยระดับอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง โดยทั่วไปจะลดลงประมาณ 6.5 องศาเซลเซียสต่อความสูงหนึ่งกิโลเมตร และมีลักษณะเฉพาะ คือ บริเวณที่อยู่เหนือภาคพื้นทวีปในฤดูร้อน บริเวณที่อยู่เหนือภาคพื้นมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงอย่างรวดเร็ว
3) ในส่วนของโทรโพสเฟียร์ที่เป็นส่วนแคบๆ จะเกิดการผันกลับของอุณหภูมิ โดยอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง การผันกลับของอุณหภูมิจะเกิดขึ้นเหนือภาคพื้นทวีปในฤดูหนาวและเหนือมหาสมุทร ในฤดูร้อน เนื่องจากการเย็นตัวของผิวดินด้วยการแผ่รังสี หรือจากการที่อากาศที่มีอุณหภูมิสูงสัมผัสกับผิวดินที่เย็นกว่า
4) มีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ เช่น ลมพายุ ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น
2. สตราโทสเฟียร์ (stratosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปอีก 50 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน เช่น
1) จะมีอุณหภูมิคงที่ในส่วนที่อยู่ติดกับชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 20 กิโลเมตร ถัดจากความสูง 20 กิโลเมตรนี้ไปอีก 10-15 กิโลเมตร หรือที่ความสูงจากชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 30-35 กิโลเมตรอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น และต่อจากนั้นอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตรา 0.5 องศาเซลเซียสต่อความสูง 1 กิโลเมตร
2) สตราโทสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศที่มีความชื้นในระดับ ต่ำมาก มีปริมาณของฝุ่นละอองน้อย
3) เป็นชั้นบรรยกาาศที่มีปริมาณแก๊สโอโซน (O3) เข้มข้นมาก
3. มีโซสเฟียร์ (mesophere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัด จากสตราโทสเฟียร์ขึ้นไปอีกเป็นระยะความสูงประมาณ 80 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะก็คือ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามระดับของความสูงที่เพิ่มขึ้น
4. เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากมีโซสเฟียร์ขึ้นไปเป็นระยะความสูง 400-500 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะ คือ
1) ในระยะความสูง 100 กิโลเมตรแรก ระดับอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และถัดจาก 100 กิโลเมตรแรกขึ้นไปอีกระดับ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้น
2) ระดับอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะร้อนมาก โดยจะมีระดับอุณหภูมิสูงถึง 227-1,727 องศาเซลเซียส
3) ปริมาณของอนุภาคต่างๆ มีความหนาแน่นน้อยมาก
4) บรรยากาศชั้นนี้จะเป็นบริเวณที่บรรยากาศเปลี่ยนไปเป็นแก๊สระหว่างดวงดาวที่มีความเบาบางมาก ซึ่งเรียกเอกโซสเฟียร์ (exosphere)

รูปแสดงการแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ส่วนประกอบของอากาศที่มีแก๊สต่างๆ เป็นเกณฑ์
การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ส่วนประกอบของอากาศที่มีแก๊สต่างๆ เป็นเกณฑ์ จัดแบ่งชั้นบรรยากาศได้เป็น 4 ชั้น ดังนี้
1. โทรโพสเฟียร์ (troposhere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ตั้งแต่ส่วนที่ติดผิวโลกขึ้นไปในอากาศที่ระยะความสูง 10 กิโลเมตรโดยประมาณ
2) มีส่วนประกอบของอากาศที่สำคัญมากคือ ไอน้ำ โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบของอากาศตามปกติ
2. โอโซโนสเฟียร์ (ozonosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
1) เป็นชั้นของบรรยากาศที่อยู่ถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปอีก ถึงระยะประมาณ 50-55 กิโลเมตรจากผิวโลก
2) บรรยกาาศชั้นนี้จะมีปริมาณของแก๊สโอโซน (O3) อยู่มากที่สุด อาจเรียกบรรยากาศชั้นนี้ว่า ชั้นโอโซน ก็ได้
3. ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากชั้นโอโซโนสเฟียร์ขึ้นไปถึงระยะความสูงประมาณ 600 กิโลเมตรจากผิวโลก
2) มีปริมาณอิเล็กตรอนอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก
3) ระยะจากผิวโลกขึ้นไปถึงชั้นไอโอโนสเฟียร์ พบว่าคลื่นความถี่ของวิทยุสามารถส่งสัญญาณไปได้ทั่วทุกหนทุกแห่งบนโลกไปได้ ไกลเป็นระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร
4. เอกโซสเฟียร์ (exosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงสุดถัดจากชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ขึ้นไปถึงระยะความสูงกว่าผิวโลกประมาณ 660 กิโลเมตร
2) ในชั้นบรรยากาศนี้ความหนาแน่นขององค์ประกอบของอากาศจะมีน้อยลง
รูปแสดงการจัดแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้ส่วนประกอบของอากาศเป็นเกณฑ์
การจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ความเกี่ยวข้องกับ อุตุนิยมวิทยา
การจัดจำแนกชั้นของบรรยากาศโดยใช้ความเกี่ยวข้องกับเรื่องของอุตุนิยมวิทยา จัดจำแนกได้ถึง 5 ชั้น คือ
1. ชั้นที่มีอิทธิพลของความฝืด บรรยากาศชั้นนี้จะอยู่ถึงระดับความสูง 2 กิโลเมตรจากพื้นผิวของโลก เป็นบริเวณที่มีการไหลเวียนไปมาของอากาศ ความร้อนจากผิวโลกจะทำให้อากาศในบรรยากาศชั้นนี้มีโครงสร้างที่แปรเปลี่ยนไป ด้วยการถ่ายทอดความร้อนให้กับอากาศในบริเวณนั้นๆ
2. โทรโพสเฟียร์ส่วนชั้นกลางและชั้นบน บรรยากาศชั้นนี้จะมีการลดลงของอุณหภูมิขณะความสูงเพิ่มขึ้น อิทธิพลของความฝืดจะมีผลทำให้การไหลเวียนของอากาศน้อยลง
3. โทรโพพอส (tropopause) บรรยากาศชั้นนี้อยู่ระหว่างบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโทสเฟียร์ บรรยากาศชั้นนี้จะแบ่งเป็นชั้นที่มีไอน้ำและชั้นที่ไม่มีไอน้ำ
4. สตราโทสเฟียร์ (startosphere) บรรยากาศชั้นนี้จะมีความชื้น ฝุ่นละอองเพียงเล็กน้อย และมีโอโซนหนาแน่น
5. บรรยากาศชั้นสูง เป็นบรรยากาศชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นสตราโทสเฟียร์ไปจนไปจดขอบนอกสุดของชั้นบรรยากาศโลกอุณหภูมิของอากาศ

อุณหภูมิ (temperature) ของอากาศ เป็นระดับปริมาณความร้อนที่อากาศมีอยู่ในแต่ละช่วงเวลาและแต่ละสถานที่ จากการศึกษาและการตรวจวัดอุณหภูมิของอากาศโดยตรวจจากระดับผิวโลกขึ้นไปใน ชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูง 10 กิโลเมตร ผู้ตรวจวัดพบว่า อุณหภูมิของอากาศจะมีการลดลงเมื่อระดับความสูงจากผิวโลกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อธิบายได้ว่า ในเวลากลางวันผิวโลกรับแสงแดดหรือแสงจากดวงอาทิตย์ แล้วเก็บไว้ใช้ด้วยการดูดกลืน จากนั้นความร้อนที่เก็บสะสมไว้จะถูกคายออกมา บรรยากาศจะได้รับความร้อนนั้นโดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้ผิวโลก จึงทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นที่อยู่ใกล้ผิวโลกสูงกว่าบรรยากาศชั้นที่ อยู่สูงขึ้นไป
รูปแสดงลักษณะการเกิดอุณหภูมิของบรรยากาศ
อุณหภูมิของบรรยากาศในชั้นบรรยากาศต่างๆ ตามระดับความสูงของผิวโลกจะมีความแตกต่างกันดังตาราง
ตารางแสดงอุณหภูมิของอากาศที่ระดับความสูงต่างๆ กัน
ระดับความสูงจาก
ระดับน้ำทะเล (km)
อุณหภูมิของอากาศ ( ํC)
0
0.089
7.504
3.138
4.396
5.848
7.557
7.647
27.0
25.3
18.2
8.0
2.2
-6.1
-17.6
-32.3
จากข้อมูลตามตารางที่แสดงทำให้ทราบว่า
1. ช่วงความหนาแน่นของบรรยากาศจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 10 กิโลเมตร อุณหภูมิของอากาศจะลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น
2. ตัวเลขแสดงอัตราการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิ 5.5 องศาเซลเซียส ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร หรือระดับอุณหภูมิจะลดลง 5.5 องศาเซลเซียส เพื่อความสูงเพิ่มขึ้น 1 กิโลเมตร
3. ถ้าเรานำเอาข้อมูลนี้ไปเขียนกราฟ จะพบว่ากราฟมีลักษณะเป็นเส้นกราฟที่ค่อยๆ โค้งลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงว่า ค่าของอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงเมื่อระดับของบรรยากาศสูงขึ้น
กราฟแสดงอุณหภูมิของอากาศที่ระดับความสูงต่างกัน
จากกราฟจะเห็นได้ชัดเจนว่า อุณหภูมิจะลดลงเมื่อความสูงเพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้เราทราบว่า ถ้าเราต้องเดินทางสูงจากผิวของพื้นโลกขึ้นไปในระดับความสูงไม่เกิน 10 กิโลเมตร เราต้องเตรียมพร้อมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมิฉะนั้นอาจเกิดความ เสียหายต่อยานพาหนะและอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด
ความดันอากาศ
ความดันอากาศ (air presour) หมายถึง แรงดันของอากาศ ซึ่งก็เป็นเรื่องของสมบัติของอากาศที่ต้องการที่อยู่ อากาศจะเคลื่อนที่โดยโมเลกุลของอากาศจะเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอยู่ในสถานะของแก๊ส อากาศจะเคลื่อนที่ไปทุกทิศทุกทางทำให้เกิดแรงที่เรียกว่า แรงดันอากาศ แรงดันอากาศจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของขนาดพื้นที่ อุณหภูมิ และอื่นๆ
การวัดความดันของอากาศ
การวัดความดันของอากาศ มีนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาค้นคว้าไว้จนสามารถสร้างเครื่องวัดความดันของอากาศได้
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องความดันของอากาศที่ควรรู้จักมี 2 ท่านด้วยกัน คือ กาลิเลโอ (Galileo) และเทอริเชลลี (Torricelli) โดยศึกษาพบว่า อากาศสามารถดันของเหลว เช่น น้ำหรือปรอทให้เข้าไปอยู่ในหลอดแก้วที่เป็นสุญญากาศได้ จึงนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้สร้างเครื่องวัดความดันบรรยากาศที่มีชื่อ เรียกว่า บารอมิเตอร์ (barometer) บารอมิเตอร์จะใช้ปรอทบรรจุไว้ภายในหลอดแก้วเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่าของเหลวอื่นๆ
ข้อควรทราบ
1. ความดัน 1 บรรยากาศ คือ ความดันของอากาศที่ทำให้ปรอทเคลื่อนสูงขึ้นไปได้ 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร
2. 1 บรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1,013.25 มิลลิบาร์
3. 1,000 มิลลิบาร์ มีค่าเท่ากับ 1 บาร์
4. 1 บรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1.013105 นิวตันต่อตารางเมตร
5. ในทางอุตุนิยมวิทยาจะใช้หน่วยของบารอมิเตอร์ เป็นนิ้ว มิลลิเมตร มิลลิบาร์ หรือบาร์
6. 1 นิ้ว มีค่าเท่ากับ 25.4 มิลลิเมตร
7. 1 มิลลิบาร์ มีค่าเท่ากับ 0.02953 นิ้วของปรอท
8. 1 มิลลิบาร์ มีค่าเท่ากับ 0.750062 มิลลิเมตรของปรอท
เครื่องมือวัดความดันอากาศ
เครื่องมือที่ใช้วัดความดันของอากาศเราเรียกว่า บารอมิเตอร์ (barometer) เป็นเครื่องมือที่ทำให้ทราบว่า ณ บริเวณหนึ่ง บริเวณใดมีความกดของอากาศมากน้อยเท่าไร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของอุตุนิยมวิทยา ชนิดของบารอมิเตอร์มีดังต่อไปนี้
1. บารอมิเตอร์แบบปรอท (barometer) ประกอบด้วยหลอดแก้วยาวที่ปิดปลายด้านหนึ่งไว้ และทำให้เป็นสุญญากาศ นำไปคว่ำลงในอ่างที่บรรจุปรอทไว้ อากาศภายนอกจะกดดันให้ปรอทเข้าไปอยู่ในหลอดแก้วในระดับหนึ่งของหลอดแก้ว ระดับของปรอทจะเปลี่ยนแปลงไปตามความกดดันของอากาศ โดยความดัน 1 บรรยากาศจะดันปรอทให้สูงขึ้นไปได้ 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร
รูปแสดงบารอมิเตอร์แบบปรอท
2. แอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ (aneriod barometer) ชนิดไม่ใช้ปรอทหรือของเหลวแบบอื่นๆ เป็นบารอมิเตอร์ที่จะทำเป็นตลับโลหะแล้วนำเอาอากาศออกจนเหลือน้อย (คล้ายจะทำให้เป็นสุญญากาศ) เมื่อมีแรงจากอากาศมากดตลับโลหะ จะทำให้ตลับโลหะมีการเคลื่อนไหว ทำให้เข็มที่ติดไว้กับตัวตลับชี้บอกความกดดันของอากาศโดยทำสเกลบอกระดับความ ดันของอากาศไว้ แอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ประดิษฐ์โดยวีดี (Vidi) ในปี พ.ศ. 2388 มีขนาดเล็กพกพาไปได้สะดวก
รูปแสดงแอนนิรอยด์บารอมิเตอร์
3. บารอกราฟ (barograph) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความดันอากาศที่ใช้หลักการเดียวกับแอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ แต่จะบันทึกความกดดันอากาศแบบต่อเนืองลงบนกระดาษตลอดเวลาในลักษณะเป็นเส้นกราฟ
รูปแสดงบารอกราฟ
4. แอลติมิเตอร์ (altimeter) เป็นแอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ ที่นำมาประยุกต์ให้ใช้ความกดดันของอากาศวัดระดับความสูง แอล-ติมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบิน เครื่องมือที่นักกระโดดร่มใช้เพื่อการกระโดดร่ม
รูปแสดงแอลติมิเตอร์ความชื้นของอากาศ
ความชื้นของอากาศ (humidity) หมายถึง ปริมาณของไอน้ำที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศ ในกรณีที่มีความชื้นในอากาศสูงหมายถึงว่าอากาศมีปริมาณไอน้ำมาก และถ้าอากาศมีความชื้นต่ำหมายถึงว่าอากาศมีปริมาณไอน้ำน้อย

ข้อควรทราบ
อากาศอิ่มตัว หมายถึง อากาศที่มีปริมาณไอน้ำสูงมาก จึงเป็นอากาศที่ไม่สามารถจะรับไอน้ำจากที่ต่างๆ ได้อีก ในกรณีที่มีไอน้ำเกินกว่าระดับปกติมาก ไอน้ำจะจัดการตัวเองโดยการกลายเป็นหยดน้ำตกลงมาเป็นฝน
ความชื้นสัมบูรณ์
ความชื้นสัมบูรณ์ หรือความชื้นแท้ (absolute humidity) เป็นความชื้นที่มีมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศหนึ่งหน่วยปริมาตร ในเวลาใดเวลาหนึ่ง มีหน่วยในการวัดเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความชื้นสัมบูรณ์ในอีกความหมายก็คือ ความหนาแน่นของไอน้ำ หรือปริมาณไอน้ำในอากาศ ความชื้นสัมบูรณ์จะมีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำที่มีจริงในอากาศ กับปริมาตรของอากาศ ดังสมการ


ตัวอย่างที่ 1 ห้องแห่งหนึ่งมีปริมาณ 1,200 ลูกบาศก์เมตร มีไอน้ำกระจายอยู่ 40,000 กรัม ความชื้นสัมบูรณ์ภายในห้องนี้มีค่าเท่าใด
วิธีทำ ความชื้นสัมบูรณ์
ตอบ

ตัวอย่างที่ 2 ห้องเรียนแห่งหนึ่งมีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร มีไอน้ำอยู่ 80,000 กรัม ความชื้นสัมบูรณ์ภายในห้องนี้มีค่าเท่าไร
วิธีทำ ความชื้นสัมบูรณ์
ตอบ
ตัวอย่างที่ 3 ในป่าแห่งหนึ่งมีปริมาตรของอากาศ 1,700,000 ลูกบาศก์เมตร หลังฝนตกมีไอน้ำกระจายอยู่ทั่วไป 5,000,000 กรัม ความชื้นสัมบูรณ์ภายในป่าแห่งนี้มีค่าเท่าใด
วิธีทำ ความชื้นสัมบูรณ์
ตอบ
ความชื้นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) เป็นวิธีการวัดความชื้นโดยการเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ ระหว่างความชื้นสัมบูรณ์หรือมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศ กับมวลของไอน้ำที่อากาศจำนวนนั้นๆ จะมีได้อย่างเต็มที่ ณ อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน

หรือ


ตัวอย่างที่ 4 ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส อากาศอิ่มตัวที่ปริมาณไอน้ำ 24 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ไอน้ำจริงในอากาศขณะนั้น 8 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร จงหาค่าความชื้นสัมพัทธ์
วิธีทำ ความชื้นสัมพัทธ์
ตอบ
ตัวอย่างที่ 5 ค่าความชื้นสัมบูรณ์ของอากาศมีค่า 80 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าอากาศแห่งนี้สามารถรับไอน้ำได้เต็มที่ 140 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศนี้มีค่าเท่าใด
วิธีทำ ความชื้นสัมพัทธ์
ตอบ

ความชื้นจำเพาะ
ความชื้นจำเพาะ (specific humidity) เป็นอัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำมีหน่วยเป็นกรัมต่อมวลของอากาศทั้งหมด 1 กิโลกรัม

การวัดความชื้นในบรรยากาศ
การวัดความชื้นในบรรยากาศ เราจะวัดเป็นความชื้นสัมพัทธ์ด้วยเครื่องมือที่มีชื่อเรียกว่า ไฮโกรมิเตอร์ (hygrometer) ไฮโกรมิเตอร์แบ่งเป็นหลายชนิด
1. ไฮโกรมิเตอร์แบบกระเปาะเปียกกระเปาะแห้ง จะ ประกอบด้วยเทอร์มอมิเตอร์ 2 อัน โดยอันหนึ่งวัดอุณหภูมิตามปกติ อีกอันหนึ่งวัดอุณหภูมิในลักษณะที่เอาผ้ามาหุ้มกระเปาะ โดยให้ผ้าเปียกน้ำอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้มีการระเหยของน้ำจากผ้า ทำให้ได้อุณหภูมิต่ำกว่า จากนั้นนำเอาอุณหภูมิไปใช้หาค่าความชื้นสัมพัทธ์ จากค่าความต่างของระดับอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ทั้งสองโดยการอ่านค่าจาก ตารางสำเร็จรูป


รูปแสดงเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะแห้งและกระเปาะเปียก
ตารางหาค่าความชื้นสัมพัทธ์
การหาค่าความชื้นสัมพันธ์ จากไฮโกรมิเตอร์แบบกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้ง เช่น ถ้าอุณหภูมิจากเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะแห้งอ่านได้ 37 ํC และอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะเปียกอ่านได้ 278 ํC จะหาค่าความชื้นสัมพัทธ์ได้เท่าไร
วิธีทำ
1. หาผลต่างของค่าอุณหภูมิของทั้งสองเทอร์มอมิเตอร์ได้เท่ากับ 37 ํC-27 ํC = 10 ํC
2. ดูค่าผลต่างเทียบกับตาราง
3. อ่านค่าของเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะแห้งที่ 35-39 ํC
4. อ่านค่าความต่าง
5. จากข้อ 3 และข้อ 4 ขีดตั้งฉากเข้าหากัน จุดตัดคือค่าความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 46 ํC

2. ไซโครมิเตอร์ (psychrometer) คือ ไฮโกรมิเตอร์แบบกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียกที่ติดตั้งอยู่บนแผงเป็นคู่ๆ แผงแกว่งไปมาได้ เพื่อให้เกิดการระเหยของน้ำที่กระเปาะเปียกทำให้การตรวจสอบทำได้เที่ยงตรงมากขึ้น
3. ไฮโกรมิเตอร์แบบเส้นผม (hair hygrometer) ทำจากสมบัติของเส้นผมที่ขึ้นอยู่กับความชื้น ถ้ามีความชื้นมากเส้นผมจะยืดตัวออกไป ถ้ามีความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว
4. ไฮโกรกราฟ (hygrograph) จะเป็นไฮโกรมิเตอร์แบบเส้นผมที่มีการบันทึกค่าความชื้นต่อเนื่องกันด้วยกราฟลงบนกระดาษ
ที่มาwww.maceducation.com/.../2412212100/19.htm

ความรู้อุตุนิยมวิทยา

ความสำคัญ

  • ช่วยปรับอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยปกติในช่วงกลางวันความร้อนจากดวงอาทิตย์จะถูกอากาศ ที่ห้อหุ้มโลกไว้บางส่วน ทำให้ร้อนอย่างช้าๆ
  • ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีและอนุภาคต่างๆ ที่มาจากนอกโลก

ความรู้อุตุนิยมวิทยา


ชั้นบรรยากาศคือ ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้ชั้นบรรยากาศคง สภาพอยู่ได้ ชั้นบรรยากาศมีความหนารวมแล้วประมาณ 310 ไมล์ อากาศในชั้น บรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก
การแบ่งชั้นบรรยากาศ สามารถแบ่งออกได้ 4 แบบ ดังต่อไปนี้ 1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง
2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
3.แบ่งชั้fนบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์
4. แบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา
1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง แบ่งได้ 2 ส่วน คือ
1. ชั้นบรรยากาศส่วนล่าง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงทุกระยะที่สูงขึ้น 100 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 0.64 องศาเซลเซียสจนกว่าจะถึงบรรยากาศส่วนบน
1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) คือ บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ เมฆ พายุ ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ
2. สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ความสูง 15 - 50 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซโอโซนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และก๊าซโอโซนนี้เอง ที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นรังสีอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์และพืช ไม่ให้ส่องลงมากระทบถึงพื้นโลก ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการที่โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนแตกตัว และจัดรูปแบบขึ้นใหม่เมื่อถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ช่วยดูดซับรังสีเหนือม่วง ของแสงอาทิตย์ทำให้บรรยากาศอุ่นขึ้น เครื่องบินไอพ่นจะบินในชั้นนี้เนื่องจากมีทัศนวิสัยดี
3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยอาจต่ำได้ถึง 83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วนหินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆ ไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน
2. บรรยากาศส่วนบน มีคุณสมบัติ ตรงข้ามกับบรรยากาศส่วนล่าง คือ แทนที่อุณหภูมิจะต่ำลงแต่กลับสูงขึ้นและยิ่งสูงยิ่งร้อน มาก บรรยากาศส่วนนี้จำแนกเป็น 3 ชั้นเช่นกัน คือ
1. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) สูง 80 - 450 กิโลเมตร ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็วแต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส สามารถส่งวิทยุคลื่นยาวกว่า 17 เมตรไปได้ทั่วโลก โดยส่งสัญญาณจากพื้นโลกให้คลื่นสะท้อนกับชั้นไอออนของก๊าซไนโตรเจนและ ออกซิเจน ซึ่งถูกรังสีเหนือม่วงและรังสีเอกซ์ทำให้แตกตัว
2. เอกโซสเฟียร์ (Exsphere) บรรยากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกประมาณ 450 - 900 กิโลเมตร มีก๊าซอยู่น้อยมาก มนุษย์อวกาศจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดันภายในร่างกาย ต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะโคจรรอบโลกในชั้นนี้
3. แมกเนโตสเฟียร์ (Magnetosphere) ชั้นนี้มีความสูงมากกว่า 900 กิโลเมตร ไม่มีก๊าซใดๆ อยู่เลย
2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้นดังนี้
1. โทรโพสเฟียร์ (Troposhere) อยู่ระหว่าง 0-10 กม. เป็นบรรยากาศชั้นล่างสุดที่เราอาศัย มีความหนาประมาณ 10 - 15 กิโลเมตร ร้อยละ 80 ของมวลอากาศทั้งหมดอยู่ในบรรยากาศชั้นนี้ แหล่งกำเนิดความร้อนของโทรโพสเฟียร์คือ พื้นผิวโลกซึ่งดูดกลืนรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ และแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา ดังนั้นยิ่งสูงขึ้นไปอุณหภูมิจะลดต่ำลงในอัตรา 6.5°C ต่อ 1 กิโลเมตร จนกระทั่งระยะสูงประมาณ 12 กิโลเมตร อุณหภูมิจะคงที่ประมาณ -60°C ที่รอยต่อชั้นบนซึ่งเรียกว่า โทรโพพอส (Tropopause)
โทรโพสเฟียร์มีไอน้ำอยู่จำนวนมาก จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำฟ้าต่างๆ เช่น เมฆ พายุ ฝน เป็นต้น บรรยากาศชั้นนี้มักปรากฏสภาพอากาศรุนแรง เนื่องจากมีมวลอากาศอยู่หนาแน่น และการดูดคายความร้อนแฝง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนสถานะของน้ำในอากาศ รวมทั้งอิทธิพลทางภูมิศาสตร์ของพื้นผิวโลก
2. สตราโตสเฟียร์ (Stratoshere) อยู่ระหว่างความสูง 10-50 กม. เป็นชั้นที่ไม่มีเมฆ มักใช้ในการเดินทางทางอากาศ โดยอุณหภูมิจะคงที่ จนถึงความสูง 50 กม. และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอัตรา0.5 องศา c ต่อ1กม.มวลอากาศในชั้นนี้มีร้อยละ 19.9 ของมวลอากาศทั้งหมด เหนือระดับโทรโพพอสขึ้นไป อุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นในอัตรา 2°C ต่อ 1 กิโลเมตร เนื่องจากโอโซนที่ระยะสูง 48 กิโลเมตร ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์เอาไว้ บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์มีความสงบมากกว่าชั้นโทรโพสเฟียรส์ เครื่องบินไอพ่นจึงนิยมบินในตอนล่างของบรรยากาศชั้นนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่รุนแรงในชั้นโทรโพสเฟียร์
3. เมโซสเฟียร์ (Mesosphere) เป็นชั้นบรรยากาศระหว่าง 50-80 กม. โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความสูง เหนือสตราโตรสเฟียรส์ขึ้นไป อุณหภูมิลดต่ำลงอีกครั้ง จนถึง -90°C ที่ระยะสูง 80 กิโลเมตร ทั้งนี้เนื่องจากห่างจากแหล่งความร้อนในชั้นโอโซนออกไป มวลอากาศในชั้นนี้มีไม่ถึงร้อยละ 0.1 ของมวลอากาศทั้งหมด
4. เทอร์โมสเฟียร์(Thermoshere) ตั้งแต่ 80-500กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกแล้วอัตราการสูงขึ้นจะลดลง อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 227-1727 องศา c โดยชั้นนี้จะมีความหนาแน่นของอนุภาคต่างๆจางมาก แต่ก๊าซต่างๆ ในชั้นนี้จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า อิออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้
มวลอากาศในชั้นเทอร์โมสเฟียร์มิได้อยู่ในสถานะของก๊าซ หากแต่อยู่ในสถานะของประจุไฟฟ้า เนื่องจากอะตอมของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบน ได้รับรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ เช่น รังสีเอ็กซ์ และแตกตัวเป็นประจุ อย่างไรก็ตามแม้ว่าบรรยากาศชั้นนี้จะมีอุณหภูมิสูงมาก แต่ก็มิได้มีความร้อนมาก เนื่องจากมีอะตอมของก๊าซอยู่เบาบางมาก (อุณหภูมิเป็นเพียงค่าเฉลี่ยของพลังงานในแต่ละอะตอม ปริมาณความร้อนขึ้นอยู่กับมวลทั้งหมดของสสาร)
เหนือชั้นเทอร์โมสเฟียร์ขึ้นไป ที่ระยะสูงประมาณ 500 กิโลเมตร โมเลกุลของอากาศอยู่ห่างไกลกันมาก จนอาจมิสามารถวิ่งชนกับโมเลกุลอื่นได้ ในบางครั้งโมเลกุลซึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงเหล่านี้ อาจหลุดพ้นอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก เราเรียกบรรยากาศในชั้นที่อะตอมหรือโมเลกุลของอากาศมีแนวโน้มจะหลุดหนีไปสู่ อวกาศนี้ว่า “เอ็กโซสเฟียร์” (Exosphere)

นอกจากนี้ ยังเรียก ชั้นโฮโมสเฟียร์ คือ ชื่อเรียกบรรยากาศชั้น โทรโพรสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์และมีโซสเฟียร์รวมกัน
หมาย เหตุ: บางครั้งเราเรียกบรรยากาศที่ระดับความสูง 80-400 กิโลเมตร ว่า “ไอโอโนสเฟียร์” (Ionosphere) เนื่องจากก๊าซในบรรยากาศชั้นนี้มีสถานะเป็นประจุไฟฟ้า ซึ่ง มีประโยชน์ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคม
3. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้น คือ 1. โทรโพสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดกับพื้นโลก สูง 0-10 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ ไอน้ำ
2. โอโซโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง10-50 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ โอโซน
3. ไอโอโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง 80-600 กม. มีสิ่งที่สำคัญคือ อิออน
4. เอกโซเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศซึ่งสูงตั้งแต่ 600 กม. ขึ้นไป โดยความหนาแน่นของอะตอมต่างๆ มีค่าน้อยลง
4. แบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา แบ่งได้ 5 ชั้น ดังนี้
1. บริเวณที่มีอิทธิพลความฝืด ระหว่าง 0-2 กม.
2. โทรโพสเฟียร์ชั้นกลางและบน อุณหภูมิจะลดลงสม่ำเสมอ ตามความสูง
3. โทรโพพอส เป็นเขตแบ่งว่า มีไอน้ำกับไม่มีไอน้ำ
4. สตราโตสเฟียร์ มีโอโซนมาก
5. บรรยากาศชั้นสูง คล้ายกับเอกโซสเฟียร์
ที่มาhttp://eduzone.thaihealth.net/article41-%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0.html

แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์