วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บรรยากาศ

การพยากรณ์อากาศ
การพยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดหมายสภาวะของลมฟ้าอากาศรวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยใช้สภาวะอากาศปัจจุบันเป็นข้อมูลเริ่มต้น
หน่วยงานของประเทศไทยที่ทำหน้าที่ในการตรวจสภาพอากาศและปรากฏการณ์ธรรมชาติเพื่อการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติ คือ กรมอุตุนิยมวิทยา

ขั้นตอนการพยากรณ์อากาศ
1. ตรวจสภาพอากาศ โดยสถานีตรวจอากาศบนบกหรือทะเล จะตรวจวัดอุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ความกดอากาศ ลม เมฆ หยาดน้ำฟ้า ทัศนวิสัย บอลลูนตรวจสภาพอากาศจะนำเครื่องมือที่จะทำการวัดอุณหภูมิ ความกดอากาศ และความชื้นไปสู่ชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโตสเฟียร์ ดาวเทียมตรวจสภาพอากาศจะอยู่ในชั้นเอกโซสเฟียร์ และสามารถถ่ายภาพพื้นผิวโลก เมฆ และพายุ ส่งข้อมูลมายังสถานีรวบรวมข้อมูลได้
2. สื่อสารข้อมูลที่ได้จากการตรวจสภาพอากาศจากสถานีต่างๆ ไปยังศูนย์พยากรณ์อากาศ
3. เขียนแผนที่อากาศ วิเคราะห์ข้อมูล และพยากรณ์อากาศ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ แล้วส่งข้อมูลการพยากรณ์อากาศไปยังหน่วยงานสื่อสารมวลชน

การอ่านแผนที่อากาศ
แผนที่อากาศ คือ แผนที่ที่แสดงองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ข้อมูลต่างๆ ในแผนที่อากาศได้รับมาจากสถานีตรวจอากาศ แล้วนำข้อมูลมาเขียนเป็นตัวเลข รหัส และสัญลักษณ์ต่างๆ ทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่อากาศจะนำไปใช้ในการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศ ที่จะเกิดขึ้น
ตัวอย่างสัญลักษณ์ทางอุตุนิยมวิทยาบนแผนที่อากาศ
1. เส้นโค้งที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซบาร์ (Isobar) ตัวเลขบนเส้นไอโซบาร์แสดงค่าความกดอากาศที่อ่านได้ซึ่งอาจอยู่ในหน่วยมิลลิบาร์ หรือนิ้วของปรอท
2. เส้นโค้งที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่มีอุณหภูมิของอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซเทอร์ม (Isotherm) ค่าอุณหภูมิอาจบอกในหน่วยองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์ หรือทั้งสองหน่วย
3. อักษร H คือ ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง
4. อักษร L คือ ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ

ภาพตัวอย่างแผนที่อากาศ
ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/23.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์