วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แข่งเรือเฮือซ่วง..แห่กฐินทางน้ำ...สืบสานสู่รุ่นลูก-หลาน

ปีนี้จังหวัดสุโขทัย เน้นการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นหลัง เสริมงานประเพณีลอยกระทง และเทศกาลอาหาร โดยเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโข ทัย ได้กำหนดจัดแห่กฐินทางน้ำขึ้น ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2552 ณ บริเวณเขื่อนเรียงหิน หมู่ 2 ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ สุดเสมอใจ นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวถึงความเป็นมาของประเพณีแห่องค์กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ หรือชาวบ้านเรียกว่า (เฮือซ่วง) เป็นการทำบุญในเทศกาลทอดกฐินของชาวไทยพวน ที่นิยมทอดกันตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือน 12 และถือกันว่า การทอดกฐินได้บุญมาก ผู้มีฐานะดีพอที่จะทอดได้ ต้องทอดด้วยกันทุกคน ผู้มีจิตศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐิน ต้องเขียนหนังสือแสดงความจำนงจะทอดกฐินในวัน เดือน ปี นั้น ๆ ไปติดประกาศไว้ที่วัด เรียกว่า จองกฐิน

นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวอีกว่า ในอดีตการทอดกฐินถ้าไปทอดที่วัดห่างไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันแห่ไปแล้วทอดเสร็จในวันเดียว หากทอดที่วัดประจำในหมู่บ้าน หรือวัดใดวัดหนึ่งใกล้ ๆ กัน จะต้องมีการแห่วันหนึ่ง ทอดวันหนึ่ง การแห่ คือ การจัดเครื่องกฐิน เรียกว่า กองกฐิน ลงเรือยาวขนาดใหญ่ซึ่งจัดสร้างขึ้นไว้ในการนี้โดยเฉพาะ แล้วประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตามความนิยมของชาวบ้านหาดเสี้ยว ก่อนจะแห่ขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งบรรดาชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งแม่น้ำ เมื่อได้ยินพิณพาทย์แห่กฐินมา จะพากันอุ้มลูกจูงหลานมาดูมาชมอย่างคับคั่ง ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะถือเครื่องไทยธรรมตามมีตามเกิด มารอคอยอยู่ที่ท่าน้ำเพื่อร่วมอนุโมทนาด้วย

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเรือกฐินผ่านมา จะแวะเข้าไปรับทุก ๆ แห่ง จนสุดหมู่บ้านแล้ววนกลับ ในการแห่กฐินนี้พวกเด็กเล็กในหมู่บ้านที่ทอดกฐิน ต่างพากันร้องไห้กระจองอแง ขอให้พ่อแก่นำไปแห่กฐินด้วย พ่อแม่จำเป็นจะต้องพาลงเรือพายเรือแจวไปร่วมกับเรือกฐิน แต่ประเพณี ดังกล่าวเริ่มจะจางหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นหลังก็ยังให้ ความสนใจประเพณี นี้ไม่มากนัก

“ดังนั้นทางผู้บริหาร และคณะเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว จึงได้ฟื้นฟูและสนับสนุนประเพณีแห่กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ (เฮือซ่วง) ขึ้น ซึ่งคาดหมายว่า จะได้รับความพึงพอใจจากชาวตำบลบ้านหาดเสี้ยว และคนสุโขทัย พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สำคัญอีกอย่างของคนสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมและเมืองมรดกโลก ซึ่งพร้อมจะสืบสานประเพณีนี้ให้คงอยู่คู่กับชุมชนเทศบาลตำบลหาดเสี้ยวและคน หาดเสี้ยวต่อไป”

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวว่า สุโขทัย เป็นเมืองเก่าแก่ เป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมประ เพณีที่หลากหลาย และน่าค้นคว้า ซึ่งหากใครได้มาชมงานกฐินทางน้ำ และแข่งเรือของชาวหาดเสี้ยวแล้ว เชื่อว่านอกจากจะได้สนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณีของที่นี่อีกด้วย.
บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา/รองผู้อำนวยการสถานศึกษา


ประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
เรื่อง ผลการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
…………………………
ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้ประกาศรับสมัครคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น
บัดนี้ การดำเนินการคัดเลือกได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 8 / 2552 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 จึงได้ประกาศผล
ผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงตามลำดับจากผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดจากมากไปหาน้อย มีกำหนด 2 ปี
นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชี รายละเอียดตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ในวัน เวลา และสถานที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
ประกาศ ณ วันที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552

( นายประยุทธ นาวายนต์ )
อนุกรรมการและเลขานุการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประจำเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2

บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
แนบท้ายประกาศการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552
อันดับที่ เลขที่สอบ ชื่อ -สกุล หมายเหตุ

1 033 นายไพรัตน์ กลิ่นทับ
2 016 นายสารัตน์ พวงเงิน
3 009 นายวิโรจน์ บัวคง
4 010 นางหทัยรัตน์ เกษรจันทร์
5 022 นายสมบัติ ป้องฉิม
6 039 นายรัฐพล โพธิ์แก้ว
7 004 นางสาวศิริวรรณ ขวัญมุข
8 011 นางนภาศรี ทิมภูธรา
9 032 นายสาโรช เกตุสาคร
10 037 นางสาวชรินยา สุขย้อย
11 003 นายสุภัค พวงขจร
12 036 นางวาสนา ตาคม
13 015 นายชัชวาลย์ อ่ำเทศ
14 017 นายชาญวิทย์ วงศ์จักร
15 025 นางรัชนี เมืองชื่น
16 001 นายธรรมศาสตร์ ธรรมไชย
17 005 นายประทีป สันธิ
18 021 นายเยี่ยม ต้นกลั่น
19 034 นายประยุทธ ครุธแก้ว
20 030 ว่าที่ พ.ต.ทับทิม พาโคกทม
21 027 นายปิยะวุฒิ ล่องชูผล
22 038 นางสาวสุภาณี หัฐพฤติ
23 026 นายพนม สุขหา
24 013 นางราตรี สุวรรณประสิทธิ์
25 024 นางสาวนรินทร์ อินทะนัก
26 002 นายธีรพงษ์ เข็มคง
27 006 นายคมกริช จบศรี
28 028 นางสาวรัตนาวดี ทับเงิน
29 020 นางรุจิรัตน์ รัตนเพชร ประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2เรื่อง ผลการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
…………………………
ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้ประกาศรับสมัครคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น
บัดนี้ การดำเนินการคัดเลือกได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 8 / 2552 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 จึงได้ประกาศผล
ผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงตามลำดับจากผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดจากมากไปหาน้อย มีกำหนด 2 ปี
นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชี รายละเอียดตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ในวัน เวลา และสถานที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
ประกาศ ณ วันที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552

( นายประยุทธ นาวายนต์ )
อนุกรรมการและเลขานุการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2

บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
แนบท้ายประกาศการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552
อันดับที่ เลขที่สอบ ชื่อ -สกุล หมายเหตุ

1 022 นางวาสนา สำเนียง
2 071 นายอำนวย บูรณะไทย
3 078 นายวีระศักด์ ย้อยสร้อยสุด
4 072 นายประวิท วิริยะพงษ์
5 053 นายสุวิทย์ อภิโล
6 064 นายชวลิต ทะยะ
7 067 นายอลงกรณ์ หงษ์ผ้วย
8 001 นางสาวยุพิน จงแจ่มฟ้า
9 028 นายดำรง คุ้มพาล
10 081 นายประสาน โชติมน
11 005 นายสมพร สุขอร่าม
12 025 นางกมลวรรณ ตั้งสุขสันต์
13 063 นางศิริรัตน์ แก้วทอง
14 082 นายไพบูลย์ พวงเงิน
15 026 นางชลิศา ป้องฉิม
16 014 นายพิเชฐ ขำพงศ์
17 036 นายสุรสิทธิ์ เกษประสิทธิ์
18 011 นายอนุชิต กมล
19 008 นายณฐวรรษ ยอดแก้ว
20 031 นายไพรัช เดชะศิริ
21 060 นายไพรัช อินต๊ะสงค์
22 054 นางกาบแก้ว สวยสม
23 015 นายจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์
24 062 นายเกียรติชัย สังข์จันทร์
25 046 นายธัชพล โพธิทา
26 007 นางสายสุณีย์ ไพบูลย์กสิกรรม
27 043 นางกุณฑี วงค์จันทรมณี
28 074 นางสาวทองปลาย กมล
29 077 นายศราวุธ คำแก้ว
30 068 นายสมศักดิ์ วรรณโชค
31 034 นายอานนท์ ชาญกูล
32 042 นายธวัชชัย อินต๊ะเสาร์
33 070 นายนิคม จันทร์อิ่ม
34 069 นายมนัส เจื้อยแจ้ว
35 029 นายสมยศ ทองรัตน์
36 075 นายประธาน หาญณรงค์
37 018 นายสุชาติ หลำพรม
38 006 นางอิสรีย์ ชัยวัฒน์ดำรงสุข
39 017 นายวินัย จันทร์หอม
40 021 นายบุญชู คำรักษ์
41 050 นายสุทัศน์ หลินจริญ
42 052 นางธนวรรณ มะโนรา
43 080 นายสังวาลย์ พลอยคำ
44 002 นายมานพ หลงแย้ม
45 079 นายวัลลภ เอี่ยมมะ
46 051 นายกฤษดา แจ่มทุ่ง
47 073 นายวิลาศ ส่งให้
48 041 นายนคเรศ นิลวงศ์
49 012 นางสาวปรีเปรม เค้าอ้น
50 023 นายอานนท์ อุ่นนังกาศ
51 009 นางจิตติมนต์ อัครจรัญรัตน์
52 055 นายวสันต์ บัวหลวง
53 039 นายสมโภชน์ วรรณโชค
54 066 นางสาวจินตนา ทองแจ่ม
55 065 นางปราณี จันทราราชัย
56 010 นายสำราญ จงอยู่เย็น
57 032 นายภูษิต ภูสีโสม
58 048 นายจำเนียร ตูมหอม
59 057 นายพิรุณ กาสาย
60 019 นายประเสริฐ รุ่งเรือง
61 038 นายวัฒนา แสนคำ
62 004 นายวัชรินทร์ ฤทธิ์รักษา
63 035 นายวีระ อินทรสุวรรณ
64 016 นายสมศักดิ์ แก้วนุช
65 040 นายเทียม จรวุฒิพันธ์
66 037 นายสุพจน์ กล้าวาจา
67 020 นายอุทิศ มีเต็ม
68 045 นางสาวรวิสรา แก้วเกต
69 003 นางอารยา ปานคง
70 013 นางสาววิไลลักษณ์ ปักษี
71 049 นายโกวิทย์ บริสุทธิ์
72 024 ว่าที่ร้อยตรีสมเกียรติ ขอนทอง
ที่มา
http://www.sukhothai2.go.th/main/
งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ที่มาhttp://thai.tourismthailand.org/map/sukhothai-64-1.html

มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนางามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 1780-1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทยในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534

งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552
ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

กิจกรรม
กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การแสดงแสง เสียง ขบวนแห่กระทง การประกวดกระทง พนมหมาก พนมดอกไม้ ประกวดนางนพมาศ ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัย การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง

สอบถามรายละเอียด
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร. 0 5569 7527
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย โทรศัพท์ 0 5561 6228, 0 5561 6366 โทรสาร 0 5561 6230
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5561 1619
ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 5561 1199, 0 5561 3112
โรงพยาบาลสุโขทัย โทร. 0 5561 1702, 0 5561 1782
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 5561 3296

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286
http://www.sukhothai.go.th

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย
http://www.tourismthailand.org/sukhothai

สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ. ศ. 1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทย ในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534
อาณาเขต
จังหวัดสุโขทัยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 427 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 6,596 ตารางกิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ที่มา
http://www.loikrathong.net/th/hl_sukhothai.php

ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5561 1619
ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 5561 1199, 0 5561 3112
โรงพยาบาลสุโขทัย โทร. 0 5561 1702, 0 5561 1782
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 5561 3296

"ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ"
เป็นประเพณีบูชาด้วยประทีปที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตามที่ปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกพ่อขุนราม คำแหงหลักที่ 1 มีข้อความกล่าวถึง การเผาเทียน เล่นไฟ ว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อกว่า 700 ปีก่อน ซึ่งได้คลี่คลายมาเป็นประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟในปัจจุบัน โดยมีการแสดงแสง-เสียง จำลองบรรยากาศงานเผาเทียน เล่นไฟสมัยสุโขทัย ให้ผู้คนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศได้ชื่นชม

งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552
ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม
กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การแสดงแสง เสียง ขบวนแห่กระทง การประกวดกระทง พนมหมาก พนมดอกไม้ ประกวดนางนพมาศ ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัย การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง

สอบถามรายละเอียด
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร. 0 5569 7527
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286
- สถานที่จัดงาน: บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
- กิจกรรม: ตระการตากับขบวนแห่กระทงใหญ่ จากหน่วยงานต่าง ๆ อีกมากมาย ขบวนโคมชักโคมแขวน การแสดงพลุ ดอกไม้ไฟไทยโบราณ เช่น พลุ ตะไล ไฟพะเนียง ไฟกังหัน โคมลอย ฯลฯ ประกวศนางนพมาศ การแสดงแสง-เสียง “รุ่งอรุณแห่งความสุข” การแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีสุโขทัย ประกวดกระทงและร่วมลอยกระทง ร่วมพิธีอาบน้ำเพ็ญ ในคืนเดือนเพ็ญ ณ เมืองเก่ากรุงสุโขทัย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ :
ททท. สำนักงานสุโขทัย โทร ๐ ๕๕๖๑ ๑๑๙๖
เว็บไซต์
http://www.tat.or.th./north3
รับผิดชอบโดย ททท. สำนักงานสุโขทัย ร่วมกับจังหวัดสุโขทัยและกรมศิลปากร
ถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

สำนักพระราชวัง
3 ตุลาคม พุทธศักราช 2552
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประชาชนทุกหมู่เหล่ามาร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นวันที่ 13 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อรับการถวายการรักษาพระอาการประชวร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา สำหรับช่วงเช้าได้มีบุคคล คณะบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาเป็นครอบครัวเพื่อมาร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว อาทิ ดช.เคอิโงะ ซาโต่ พร้อมด้วยนายคัทซึมิ ซาโต บิดาชาวญี่ซึ่งเพิ่งเดินทางมาเมืองไทย ได้เดินทางมาร่วมลงนาม

ดช.เคอิโงะ กล่าวว่า โตขึ้นอยากเป็นหมอ จะได้ถวายการรักษา “ ในหลวง ” ให้หายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว ด้านนายคัทซิมิ กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงพระอาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่นเดียวกับคนไทย เพราะเห็นคนไทยพูดถึงแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันนี้ก็ดีใจและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมลงนามถวายพระพรให้ในหลวง
ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20091003/31076/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99.html
วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา


วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "ปวารณา"[1] จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น

เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร[2]พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย[3]

นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง
พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนยังนิยมร่วมกันทอดกฐิน ในระยะเวลา 1 เดือนหลังออกพรรษา มีทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน อย่างไรก็ดี ในแต่ละท้องถิ่นยังมีประเพณีอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น การแข่งเรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นต้น

ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศล "ตักบาตรเทโว" ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

ในหมู่ชาวไทยและชาวลาวริมฝั่งแม่น้ำโขง เชื่อว่าในช่วงวันออกพรรษา จะเกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคขึ้นในเวลากลางคืน ที่จังหวัดหนองคายอีกด้วย

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
ร่วมกิจกรรม "ตักบาตรเทโว" (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาต ิและธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2

แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์