วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552


ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/16-3.JPG&imgrefurl=http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/16.htm&usg=__gbYJJEeXioHWWmJ1jrjpRGLqYzE=&h=347&w=382&sz=18&hl=th&start=16&tbnid=x7yWvfxhvi8STM:&tbnh=
การกลั่น (Distillation)

การกลั่น จัดว่าเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่งสำหรับการทำของเหลวให้บริสุทธิ์ ใช้แยกของเหลวหรือของแข็งกับของเหลวที่ผสมกันเป็นสารละลายเนื้อเดียวออกจากกัน โดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือด
การกลั่นเป็นกระบวนการที่ทำให้ของเหลวได้รับความร้อนจนกลายเป็นไอ แล้วทำให้ควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีก ในขณะที่กลั่นของผสม ของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำจะกลายเป็นไอแยกออกมาก่อน ของเหลวที่ที่มีจุดเดือดสูงขึ้นจะแยกออกมาภายหลัง
การกลั่นมีหลายประเภท เช่น
• การกลั่นแบบธรรมดา
• การกลั่นลำดับส่วน
• การกลั่นโดยการลดความดัน
• การกลั่นด้วยไอน้ำ

1.การกลั่นแบบธรรมดา

การกลั่นแบบธรรมดาเหมาะสำหรับการแยกสารละลายที่ตัวถูกละลายเป็นสารที่ระเหยยาก และตัวถูกละลายมีจุดเดือดสูงกว่าตัวทำละลายมาก เช่น น้ำเชื่อม น้ำเกลือ นอกจากนั้นยังใช้แยกของเหลว 2 ชนิด ที่มีจุดเดือดต่างกันมาก ๆ เช่น ต่างกันมากกว่า 80 0 C ออกจากกันได้ “ในขณะที่กลั่นตัวทำละลายจะแยกออกมา ตัวถูกละลายจะยังคงอยู่ในขวดกลั่น” ทำให้ตัวทำละลายที่บริสุทธิ์แยกออกจากสารละลาย
ตัวอย่างเช่น การกลั่นน้ำเกลือ ซึ่งประกอบด้วย น้ำ (จุดเดือด 1000 C) และเกลือโซเดียมคลอไรด์ (จุดเดือด 1,413 0 C) เมื่อสารละลายได้รับความร้อน จะมีแต่น้ำเท่านั้นที่กลายเป็นไอออกมา เมื่อไอน้ำผ่านเข้าไปในเครื่องควบแน่นซึ่งมีน้ำเย็นไหลเวียนตลอดเวลา ไอน้ำจะควบแน่นได้ของเหลว คือน้ำบริสุทธิ์ออกมา ในขณะที่เกลือยังคงอยู่ในสารละลายในขวดกลั่น ถ้ายังคงกลั่นต่อไปจนแห้งจะเหลือแต่เกลืออยู่ในขวดกลั่น จึงทำให้สามารถแยกน้ำกับเกลือออกจากกันได้

ลักษณะโดยทั่วไปของเครื่องกลั่นแบบธรรมดา จะเป็นดังนี้
ในกรณีที่ตัวทำละลายและตัวถูกละลายมีจุดเดือดใกล้เคียงกัน หรือในกรณีที่ตัวทำละลายและตัวถูกละลายเป็นสารที่ระเหยง่ายทั้งคู่ เช่น น้ำ (จุดเดือด 1000 C) กับเอธานอล(จุดเดือด 780 C) หรือเบนซิน (จุดเดือด 800 C) กับโทลูอีน จุดเดือด 1100 C) จะกลั่นแบบธรรมดาไม่ได้ เนื่องจากตัวทำละลายและตัวถูกละลายจะกลายเป็นไอออกมาด้วยกัน ทำให้ได้สารที่ไม่บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะใช้อุณหภูมิช่วงใด ก็ไม่สามารถแยกสารให้บริสุทธิ์ได้ ถ้าต้องการได้สารที่บริสุทธิ์ จะต้องกลั่นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เรียกว่า การกลั่นลำดับส่วน
โครมาโทกราฟี

โครมาโทกราฟี
วิธีโครมาโทกราฟี เป็นวิธีการแยกสารออกจากกัน โดยเฉพาะการแยกสารละลายที่เป็นสารเนื้อเดียวและมองเห็นเพียงสีเดียว วิธีนี้นิยมใช้ทดสอบกับสารที่มีสีหลักการของวิธีโครมาโทกราฟีเป็นการแยกสารโดยอาศัยความแตกต่างของสมบัติด้านต่างๆ ของสาร เช่น สมบัติในการละลาย ขนาดของโมเลกุล ประจุ เป็นต้น วิธีการนี้อาศัยสมบัติของการละลายในตัวทำละลาย และตัวดูดซับ ทั้งนี้เนื่องจากสารแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายและถูกดูดซับบนตัวดูดซับต่างกัน จึงทำให้สารแต่ละชนิดแยกออกจากกันได้ สารที่ละลายได้ดีในตัวทำละลายจะถูกพาให้เคลื่อนที่ออกมาก่อนเมื่อผ่านตัวดูดซับ สารแต่ละชนิดก็จะถูกดูดซับไว้ได้ไม่เท่ากัน โดยสารที่ถูกดูดซับน้อยจะเคลื่อนที่ออกมาก่อน ส่วนสารที่ถูกดูดซับได้ดีจะเคลื่อนที่ออกมาที
หลังประโยชน์ของวิธีการโครมาโทกราฟี
1.ใช้แยกสารเนื้อเดียวที่มีส่วนผสมมากกว่า 2 ชนิด เพื่อให้ได้สารบริสุทธิ์
2.ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณและชนิดของสาร
ข้อดี
1.ถ้ามีสารตัวอย่างจำนวนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทดสอบได้
2.สามารถแยกองค์ประกอบต่างๆ ในสารเนื้อเดียวออกจากกันได้
3.สามารถทดสอบการแยกสารแต่ละชนิดออกจากกันได้ และบอกได้ว่าสารแต่ละชนิดที่แยกออกมาได้นั้นมีร้อยละเท่าไร
ข้อจำกัด
ในกรณีที่องค์ประกอบต่างๆ เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้เท่ากันหรือเกือบเท่ากัน จะไม่สามารถแยกสารที่เป็นส่วนประกอบออกมาได้
ความรู้เพิ่มเติม
เรื่อง โครมาโทกราฟี
โครมาโทกราฟี
(Chromatography)
โครมาโทกราฟี เป็นเทคนิคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในแง่ของการแยกสาร และการวิเคราะห์ โครมาโทกราฟี แปลว่า “การแยกออกเป็นสี” (The production of color scheme) ดังนั้นจึงนิยมใช้แยกสารที่มีสีจากกัน ทั้งนี้เพราะสามารถตรวจสอบได้ง่ายจากสีของสารเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามโครมาโทกราฟี ก็สามารถใช้แยกและวิเคราะห์สารที่ไม่มีสีได้เช่นกัน แต่ต้องมีวิธีการตรวจหาตำแหน่งของสารที่เฉพาะเจาะจงต่าง
หากหลักการที่สำคัญของโครมาโทกราฟี
โครมาโทกราฟี มีหลักการสำคัญอยู่ที่การละลายของสารละลายในตัวทำละลาย และการถูกดูดซับโดยตัวดูดซับ สารที่จะแยกด้วยวิธีโครมาโทกราฟีจะละลายในตัวทำละลายได้ไม่เท่ากัน และถูกดูดซับโดยตัวดูดซับได้ไม่เท่ากัน ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วไม่เท่ากันและแยกออกจากกันได้
วิธีการทั่วๆ ไปเมื่อต้องการแยกสารออกจากกันโดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี ให้นำสารผสมนั้นมาละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสม แล้วให้เคลื่อนที่ผ่านไปบนตัวดูดซับ เนื่องจากอัตราการเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายของสารแต่ละชนิดในตัวทำละลาย และความสามารถในการดูดซับของตัวดูดซับที่มีต่อสารนั้น สารที่ละลายได้ไม่เท่ากันและถูกดูดซับไม่เท่ากันก็จะเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน ทำให้แยกออกจากกันได้ที่มา

ฟ้าทะลายโจร เหมาะสำหรับ "หวัด ร้อน" คืออาการที่เหงื่อออก เจ็บคอ กระหายน้ำ ท้องผูก ปัสสาวะมีสีเข้ม แต่ฟ้าทะลายโจร จะไม่เหมาะกับผู้ที่มี อาการของ "หวัดเย็น" คือ ไม่มีเหงื่อ อุ้งมือ อุ้งเท้าเย็น ปัสสาวะมาก รู้สึกหนาวสะท้าน"ฟ้าทะลายโจร ยาที่มีความหมายในตัวเองไม่น้อย เพราะแม้แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟ้าประทานมาให้ปราบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือน เหล่าโจรร้าย ส่วนในภาษาจีนกลาง ยาตัวนี้มีชื่ออย่างเพราะพริ้งว่า "ชวนซิเหลียน" แปลว่า "ดอกบัวอยู่ในหัวใจ" ซึ่งมีความหมายสูงส่งมาก วงการ แพทย์จีนได้ยกฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบ เป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มี ฤทธิ์แรงพอ ที่จะรักษาโรคได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น
สำหรับความโดดเด่นของฟ้าทะลายโจรนั้น มีสารสำคัญในการรักษาโรค คือ สารแอนโดรแกรโฟไลด์ (Andrographpolide) ซึ่งทางวงการแพทย์ จีนกำหนดว่ามี 1.5% ก็ใช้เป็นยาได้แล้ว และเป็นที่น่ายินดีที่ใบฟ้าทะลายโจรในเมืองไทยมีสารสำคัญตัวนี้ถึง 1.7% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับยาตัวใหม่ แล้ว ฟ้าทะลายโจรจัดอยู่ในจำพวกยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลินและเตตราซัยคลิน ซึ่งเป็น ยาแผนปัจจุบันครอบจักรวาลเลยทีเดียว แต่ปลอดภัยกว่า เพราะไม่มีพิษต่อตับ และไม่ตกค้างในร่างกาย ซ้ำยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคบางอย่างดีกว่ายาแผนปัจจุบันเสียอีก นอกจากนี้ยังมี การทดลองทางคลินิกของโรงพยาบาลบำราศนราดูร พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสามารถรักษาโรคบิด ท้องร่วงและโรคท้องเสีย ชนิดเฉียบพลัน ได้ดีเท่ากับเตตราซัยคลิน
ฟ้าทะลายโจรจึงไม่เพียงแก้ร้อนในได้ผลเท่านั้น หากยังสรรพคุณเด่นแก้ไข้หวัด ตัวร้อน ระงับการอักเสบเจ็บคอ แก้ติดเชื้อ และเป็นยาขมเจริญอาหาร จึงนับได้ว่าฟ้าทะลายโจรเป็นยาครอบคลุมได้กว้างขวางเหมาะสำหรับเป็นยาสามัญประจำบ้านแบบไทย ๆ ได้อย่างดียิ่ง
ปัจจุบันมีการนำฟ้าทะลายโจรมากทำเป็นลูกกลอน
หรือใส่แคปซูลเพื่อความสะดวก
ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เริ่มที่จะสนใจสมุนไพรสารพัดประโยชน์ตัวนี้ เขามีเคล็ดลับในการกินยาฟ้าทะลายโจรให้ได้ผลดี ดีซึ่งเคล็ดลับนั้นมีอยู่ว่า จะต้องกินตอนเริ่มมีการอาการเป็นไข้ เจ็บคอ และท้องเสีย โดยกินครั้งละ 5 เม็ดขึ้นไป แต่ถ้ามีอาการมากให้กินได้ถึงครั้งละ 10 เม็ด วันละ 3-4 เวลา ก่อนอาหาร ถ้ากินเป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ใช้ขนาดตั้งแต่ 3-4 เม็ดหรือหากบริเวณบ้านของคุณพอจะมีที่ว่างอยู่สักหน่อยก็ลองหาฟ้าทะลายโจรมาปลูกกันดู ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชที่ขึ้นได้ง่ายสามารถปลูกได้ดีทุกสภาพ แวดล้อม ซึ่งเราสามารถใช้ส่วนใบของฟ้าทะลายโจรมากินสดได้เลยก็จะยิ่งดีอย่างไรก็ตาม แม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวางและแม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะดูเหมือนจะมีพิษน้อย แต่เนื่องจากเป้ฯ ยาเย็นจัด การกินฟ้าทะลายโจรรักษาโรคนาน ๆ ติดต่อกันหลายปีอาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย แขนขาไม่มีแรง เป็นต้น แต่ถ้ากินวันละ 1-2 เม็ด เป็นยาอายุวัฒนะสามารถกินได้เรื่อย ๆ ไม่มีพิษอะไรจากประสบการณ์ของผู้ใช้ มีข้อสังเกตว่าผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร เพราะยาฟ้าทะเลาโจรตัวนี้เป็นยาที่มีสรรพคุณในการลด ความดันอยู่แล้ว ถ้าหากผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำ และมาใช้ฟ้าทะลายโจรจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน มึนงง วิธีแก้คือหยุดยาทันที ภายใน 3-4 ชั่วโมง อาการจะดีขึ้น เพราะตัวยาสามารถถูกขับออกไปไม่มียาตกค้างในร่างกายฟ้าทะลายโจรที่เหมาะสำหรับ "หวัด ร้อน" คือ อาการที่เหงื่อออก เจ็บคอ กระหายน้ำ ท้องผูก ปัสสาวะมีสีเข้ม แต่ฟ้าทะลายโจร จะไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการของ "หวัดเย็น" คือ ไม่มีเหงื่อ อุ้งมืออุ้งเท้าเย็น ปัสสาวะมาก รู้สึกหนาวสะท้าน ถ้าเป็นหวัดเย็น แล้วกินฟ้าทะลาโจรอาการ จะกำเริบขึ้นได้ เช่น หนาวสั่น คลื่นไส้ ดังนั้นก่อนที่จะกินฟ้าทะลายโจรแก้ไข้ จึงควรพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ด้วย

ข้อมูลจากสถาบันการแพทย์แผนไทย ว่าผักติ้วมีสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระสองตัวคือ วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน ส่วนตัวเขียว ๆนั้น ยังไม่แน่ใจครับว่ามีสารที่เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง ใครจะลองกินดูไหมครับ
ผักพื้นบ้าน อาหารต้านโรคร้าย
ไขมันในเลือดสูง ความดันเลือดสูง โรคหัวใจและเบาหวาน เป็นโรคความเสื่อมของร่างกายกลุ่มหนึ่งที่คุกคามสุขภาพของคนไทย และนับวันจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น อันมีที่มาจากสารเสียที่เรียกว่า “ อนุมูลอิสระ” ที่เกิดจากการเผาไหม้หรือกระบวนการออกซิเดชั่น ร่างกายรับเข้าไปหลายทาง เช่น ควันพิษจากบุหรี่ ควันจากรถยนต์ จากโรงงาน สารเคมีในอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ทอด รวมถึงความเครียด เป็นต้น
ผักพื้นบ้านมีคุณสมบัติหลายประการที่เหมาะทั้งการป้องกัน และช่วยรักษาโรคความเสื่อมของร่างกายทั้งกลุ่มได้ เพราะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นดังนี้ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ สีที่เขียวและรสที่ฝาดของผักพื้นบ้านจะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก มีทั้งวิตามินเอ เบต้า-แคโรทีนและวิตามินซี ผักที่มีเบต้า-แคโรทีนสูง เช่น ยอดแค ใบกะเพราะ ใบขี้เหล็ก ผักเซียงดา ผักติ้ว ผักกระเฉด แครอท
ผักที่มีวิตามินเอสูง เช่น ใบยอ ใบย่านาง ใบชะพลู ยอดและใบตำลึง ผักกูด ผักแพว ผักชีลาว ผักแว่น ใบบัวบก ใบเหมียง ใบกระเจี๊ยบ ผักที่มีวิตามินซีสูง เช่น ดอกขี้เหล็ก ใบเหมียง ผักหวาน ผักเซียงดา ใบยอ ผักแพว ผักไผ่ ผักชีลาว ผักติ้ว
ข้อมูลจากhttp://www.thaimedi.com/data_herb/herb13.html


การสร้างที่เก็บน้ำด้วยไม้ไผ่

เครื่องสานจากไม้ไผ่ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรก็ตามสามารถทำ ให้เป็นภาชนะสำหรับเก็บน้ำได้ โดยการนำมาฉาบด้วย “ฟลิ้นโค้ท” ซึ่งเป็น สารผสมที่ทำมาจากยางมะตอยและสารยึดเหนี่ยวหลายชนิด เป็นของเหลว ที่แห้งเร็วมีคราบเหนียว ผสมน้ำได้ แต่เมื่อแห้งแล้วไม่ละลายน้ำ ทนน้ำและ ทนทานต่อความร้อน เย็น ไม่ละลายเมื่อถูกแดดเหมือนยางมะตอย และไม่ ผุกรอบเหมือนชัน จึงมีความทนทานและมีราคาถูก ส่วนเครื่องสานไม้ไผ่ ควรสานให้ทึบที่สุด เพื่อให้ฉาบฟลิ้นโค้ทได้ง่าย
วัสดุและอุปกรณ์

1. เครื่องสานด้วยไม้ไผ่ตามขนาดที่ต้องการ
2. ฟลิ้นโค้ทชนิดผสมน้ำหาซื้อได้ตามร้านขายปุ๋ย ขายสีทาบ้าน หรือยาฆ่าแมลงหรือตามปั๊มน้ำมันเชลล์ทั่วไป
3. ผ้าฝ้ายเป็นผ้าเก่าหรือใหม่ก็ได้ หรือกระดาษสา ถ้าหาไม่ได้ก็ ใช้เศษกระดาษทั่วไปแทนก็ได้
4. แปรงสำหรับใช้ทา หรือจะใช้มือก็ได้ ภาพตัวอย่างเครื่องสาน

วิธีทาฟลิ้นโค้ทบนเครื่องสาน

เริ่มทางด้านในก่อนตามลำดับดังนี้
1. ใช้ฟลิ้นโค้ทผสมน้ำเล็กน้อยทาบาง ๆ ให้ทั่วเป็นชั้นแรก นำไป ผึ่งแดดให้พอหมาด
2. ใช้ฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทาจนทั่วเป็นชั้นที่สอง ผึ่งแดดแห้งพอหมาด แล้วจึงทาชั้นที่สามให้ทึบ
3. เอาผ้าฝ้ายตัดเป็นชิ้นในขนาดที่ทำสะดวก ชุบน้ำให้เปียกจนทั่ว บีบน้ำทิ้งแล้วชุบฟลิ้นโค้ท แล้วบุด้านในให้ชายผ้าทับกันให้เรียบร้อย ค่อย ๆ ทำไปทีละชิ้นจนแล้วเสร็จ ถ้าเป็นกระดาษสาไม่ต้องชุบน้ำ เมื่อบุดังนี้ เสร็จแล้วรีบทาทันทีเป็นชั้นที่สี่ แล้วตากให้แห้งพอหมาด ๆ
4. ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทับให้ทั่วเป็นชั้นสุดท้าย ด้านนอก : ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ให้ทั่วสักสองชั้น โดยเว้นระยะผึ่ง แดดเหมือนด้านใน ทั้งสองด้านนี้ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทุกอย่างแล้ว ให้ตากแดดทิ้งไว้สัก 1 วัน ก็นำมาใส่น้ำได้ น้ำจะไม่มีพิษหรือกลิ่นที่เป็นอันตราย ดื่มหรือใช้ได้ตามความต้องการข้อดีของที่เก็บน้ำแบบนี้คือ ราคาถูกเพราะสานได้เอง มีน้ำหนักเบา ตกไม่แตก ทนทานต่อแดดฝน กันปลวกมอดได้ดีกว่าเครื่องสานอื่น ๆ และ ซ่อมแซมง่ายเมื่อเกิดการรั่วซึม

ข้อควรระวัง

เมื่อฟลิ้นโค้ทเปื้อนเสื้อผ้า ต้องรีบขยำน้ำทันที ถ้าปล่อยให้แห้งต้อง ซักด้วยน้ำมันก๊าซ อย่าใช้ภาชนะนี้ใส่น้ำมัน เพราะฟลิ้นโค้ทแบบผสมน้ำนี้ สามารถละลายได้ในน้ำมัน ฟลิ้นโค้ทที่เหลือใช้ควรเก็บไว้ในที่ปกปิดมิดชิด ถ้าเก็บดีจะนำมาใช้ได้อีก ไม้ไผ่ที่นำมาสานต้องมีอายุแก่พอเหมาะที่จะใช้ งานได้ดี เพื่อป้องกันมอด ฝีมือสานก็ต้องดีพอ และถ้าทำขนาดใหญ่ควร มีโครงแข็งแรงเพิ่มขึ้น เมื่อยังไม่แห้งสนิท อย่าให้ถูกน้ำหรือตากฝน เพื่อนเกษตร 6(9), 2522

แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์