ความรู้อุตุนิยมวิทยา
เป็นคำทั่วๆไปที่ใช้เรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (Cyclone) ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ บริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่นักประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตร ขึ้นไป เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา (Cyclonically) ในซีกโลกเหนือ ส่วนทางซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลม และมีความเร็วสูงที่สุด ลมที่ใกล้ศูนย์กลางมีความเร็วตั้งแต่ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (64 นอต) ขึ้นไป บางครั้งมีความเร็วลมเกินกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 นอต) ความกดอากาศต่ำสุดที่บริเวณศูนย์กลางพาย ุโดยทั่วไปต่ำกว่า 1,000 มิลลิบาร์ มีความชันของความกดอากาศ (Pressure Gradient) และความเร็วลมแรงกว่าพายุหมุนนอกเขตร้อน (Extratropical Storm) มีลักษณะอากาศร้ายติดตามมาด้วย เช่น ฝนตกหนักมากกว่าฝนปกติธรรมดาที่เกิดในเขตร้อนมาก บางครั้งมีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นด้วย ฝนและเมฆมีลักษณะไม่เหมือนกันนักในพายุแต่ละลูก ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นแนวโค้งหมุนเข้าหาศูนย์กลางหรือตาพายุ มีเมฆประเภทคิวมูลัส (Cumulus) และ คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ที่มีฝนอยู่ด้วย เกิดคลื่นสูงใหญ่ในทะเลและน้ำขึ้นสูง
ตรงบริเวณศูนย์กลางพายุมีลักษณะคล้ายกับมีตา เป็นวงกลมอยู่มองเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายจากดาวเทียม เรียกว่า “ตาพายุ” (Eye) เป็นบริเวณเล็กๆ เส้นผ่าศูนย์กลางของตาพายุเพียงแค่เป็นสิบๆ กิโลเมตรเท่านั้น(ประมาณ 15-60 กิโลเมตร) ภายในตาพายุนี้เป็นบริเวณที่มีอากาศแจ่มใส มีเมฆบ้างเล็กน้อยเท่านั้น และมีลมพัดอ่อน
พายุหมุนเขตร้อนนี้เกิดขึ้นหลายแห่งในโลก โดยทั่วไปเกิดทางด้านตะวันตกของมหาสมุทร ในเขตร้อนบริเวณใกล้ศูนย์สูตร(ยกเว้น มหาสมุทรแอตแลนติกใต้และทางด้านตะวันออก ของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้) เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ทำความเสียหายให้แก่ทวีปต่างๆ ทางด้านตะวันออก
พายุหมุนเขตร้อนนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กันแล้วแต่ท้องถิ่นที่เกิด เช่น ถ้าเกิดในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และในทะเลจีนใต้ เรียกชื่อว่า “พายุไต้ฝุ่น – Typhoon” ถ้าเกิดในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลคาริบเบียน และในอ่าวเม็กซิโก เรียกชื่อว่า “พายุเฮอร์ริเคน – Hurricane” ถ้าเกิดในอ่าวเบงกอล และทะเลอาราเบียนในมหาสมุทรอินเดีย เรียกชื่อว่า “พายุไซโคลน – Cyclone” และถ้าเกิดในทวีปออสเตรเลีย เรียกชื่อว่า “วิลลี่-วิลลี่ – Willy-Willy” หรือมีชื่อเรียกไปต่างๆกันถ้าเกิดในบริเวณอื่น
ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้จัดแบ่งชั้นของพายุหมุนเขตร้อนตามความรุนแรงของพายุได้เป็น 3 ชั้น ดังนี้
1. ดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางน้อยกว่า 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 34 ถึง 64 นอต (63 ถึง 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
3. พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอร์ริเคน (Typhoon or Hurricane) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 นอต หรือมากกว่า หรือ ตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป
ฟ้าหลัว
หมายถึง ลักษณะของอากาศที่ประกอบด้วยอนุภาคของเกลือจากทะเลหรือมหาสมุทร หรือของควันไฟและละอองฝุ่นจำนวนมากมายล่องลอยอยู่ทั่วไปและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้มองเห็นอากาศเป็นฝ้าขาวในบรรยากาศที่มีฟ้าหลัวเกิดขึ้นจะทำให้ทัศนวิสัยลดลงแม้ในอากาศดี ฟ้าหลัวธรรมดาจะทำให้ทัศนวิสัยลดลงไปถึง 2 ใน 3 ของทัศนวิสัยปกติ ลมพัดสอบ
หมายถึง การเบียดตัวเข้าหากันของลม 2 ฝ่ายบริเวณใกล้พื้นโลกทำให้อากาศบริเวณแนวเบียดตัวลอยขึ้นเบื้องบนตามแนวนี้มัก จะมีเมฆฝนเกิดขึ้นและในที่สุดจะตกลงมาเป็นฝน
ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=95
ตรงบริเวณศูนย์กลางพายุมีลักษณะคล้ายกับมีตา เป็นวงกลมอยู่มองเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายจากดาวเทียม เรียกว่า “ตาพายุ” (Eye) เป็นบริเวณเล็กๆ เส้นผ่าศูนย์กลางของตาพายุเพียงแค่เป็นสิบๆ กิโลเมตรเท่านั้น(ประมาณ 15-60 กิโลเมตร) ภายในตาพายุนี้เป็นบริเวณที่มีอากาศแจ่มใส มีเมฆบ้างเล็กน้อยเท่านั้น และมีลมพัดอ่อน
พายุหมุนเขตร้อนนี้เกิดขึ้นหลายแห่งในโลก โดยทั่วไปเกิดทางด้านตะวันตกของมหาสมุทร ในเขตร้อนบริเวณใกล้ศูนย์สูตร(ยกเว้น มหาสมุทรแอตแลนติกใต้และทางด้านตะวันออก ของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้) เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ทำความเสียหายให้แก่ทวีปต่างๆ ทางด้านตะวันออก
พายุหมุนเขตร้อนนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กันแล้วแต่ท้องถิ่นที่เกิด เช่น ถ้าเกิดในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และในทะเลจีนใต้ เรียกชื่อว่า “พายุไต้ฝุ่น – Typhoon” ถ้าเกิดในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลคาริบเบียน และในอ่าวเม็กซิโก เรียกชื่อว่า “พายุเฮอร์ริเคน – Hurricane” ถ้าเกิดในอ่าวเบงกอล และทะเลอาราเบียนในมหาสมุทรอินเดีย เรียกชื่อว่า “พายุไซโคลน – Cyclone” และถ้าเกิดในทวีปออสเตรเลีย เรียกชื่อว่า “วิลลี่-วิลลี่ – Willy-Willy” หรือมีชื่อเรียกไปต่างๆกันถ้าเกิดในบริเวณอื่น
ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้จัดแบ่งชั้นของพายุหมุนเขตร้อนตามความรุนแรงของพายุได้เป็น 3 ชั้น ดังนี้
1. ดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางน้อยกว่า 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 34 ถึง 64 นอต (63 ถึง 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
3. พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอร์ริเคน (Typhoon or Hurricane) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 นอต หรือมากกว่า หรือ ตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป
ฟ้าหลัว
หมายถึง ลักษณะของอากาศที่ประกอบด้วยอนุภาคของเกลือจากทะเลหรือมหาสมุทร หรือของควันไฟและละอองฝุ่นจำนวนมากมายล่องลอยอยู่ทั่วไปและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้มองเห็นอากาศเป็นฝ้าขาวในบรรยากาศที่มีฟ้าหลัวเกิดขึ้นจะทำให้ทัศนวิสัยลดลงแม้ในอากาศดี ฟ้าหลัวธรรมดาจะทำให้ทัศนวิสัยลดลงไปถึง 2 ใน 3 ของทัศนวิสัยปกติ ลมพัดสอบ
หมายถึง การเบียดตัวเข้าหากันของลม 2 ฝ่ายบริเวณใกล้พื้นโลกทำให้อากาศบริเวณแนวเบียดตัวลอยขึ้นเบื้องบนตามแนวนี้มัก จะมีเมฆฝนเกิดขึ้นและในที่สุดจะตกลงมาเป็นฝน
ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=95
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น