วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฝน

ฝน
ฝนเป็นน้ำที่เกิดจากกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศที่รวมกันเป็นเมฆกลายเป็นหยดน้ำ เมื่อหยดน้ำมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากจนอากาศไม่สามารถอุ้มไว้ได้ จึงตกลงมายังพื้นโลกเป็นฝน
การวัดปริมาณน้ำฝน
ปริมาณน้ำฝน หมายถึง ระดับความลึกของน้ำฝนในภาชนะที่รองรับน้ำฝน ทั้งนี้ภาชนะที่รองรับน้ำฝนจะต้องตั้งอยู่ในแนวระดับ และวัดในช่วงเวลาที่กำหนด หน่วยที่ใช้วัดปริมาณน้ำฝนนิยมใช้ในหน่วยของมิลลิเมตร
การวัดปริมาณน้ำฝนจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน (rain gauge)" ซึ่งจะตั้งไว้กลางแจ้งเพื่อรับน้ำฝนที่ตกลงมา มีหลายแบบดังนี้
1. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบธรรมดา เป็นภาชนะทรงกลมที่ภายในมีกรวยเพื่อรองรับน้ำฝนที่ตกลงมา น้ำฝนที่รวบรวมได้จะไหลลงไปรวมกันในภาชนะรองรับ จากนั้นจึงนำน้ำที่เก็บไว้ในเครื่องมาตวง ก็จะทราบปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้ แต่เครื่องวัดน้ำฝนแบบนี้อาจได้ค่าแสดงปริมาณน้ำฝนคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เนื่องจากน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนอาจระเหยไป และถ้ามีฝนตกลงมาน้อยกว่า 2.5 มิลลิเมตร จะวัดได้ยากมาก
2. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบป้องกันการระเหยของน้ำฝน โดยใช้ภาชนะทรงกลมตั้งบนหลอดขนาดเล็กสำหรับเก็บน้ำฝน เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบนี้สามารถใช้วัดปริมาณน้ำฝนได้ดี แม้จะมีฝนตกลงมาเพียงเล็กน้อยก็ตาม
3. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบไซฟ่อน (siphon rain gauge) เป็นเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบมาตรฐานที่ทำงานมีประสิทธิภาพดี ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้นำมาใช้และเป็นเครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบอัตโนมัติที่สามารถวัดปริมาณน้ำฝนได้ตลอดเวลา
ฝน (rain) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการที่ละอองไอน้ำในอากาศหรือเมฆจับตัวหรือเกาะกัน จนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอากาศไม่สามารถรองรับไว้ได้อีกจึงตกลงมาเป็นหยด น้ำขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างลงมาตามแรงดึงดูดของโลก
ละอองน้ำฝนหรือฝนที่ตกลงมาเป็นละอองจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหยดน้ำประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
เม็ดฝนที่ตกลงมาขณะฝนตกหนักจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหยดน้ำประมาณ 2 มิลลิเมตร หรืออาจมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้ การเกิดฝนมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ปริมาณไอน้ำในอากาศ ที่มีจำนวนมากจะรวมตัวกันทำให้เกิดเป็นเมฆ จากนั้นก็จะพัฒนาไปเป็นหยดของไอน้ำที่มี น้ำหนักมากขึ้น และตกลงสู่พื้นผิวโลก ยิ่งมีไอน้ำมากปริมาณของ น้ำฝนก็จะยิ่งมาก การตกแต่ละครั้งก็ตกนาน และตกได้บ่อยครั้ง
2. อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ มีส่วนในการรวมตัวกันของไอน้ำ และการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก อุณหภูมิที่สูงจะทำให้น้ำอยู่ในสภาพไอน้ำมากขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงจะทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นเมฆ และถ้าอุณหภูมิลดต่ำลงอีกไอน้ำจะรวมตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก
3. ลมซึ่งเป็นทั้งลมปกติและลมพายุ ลมเป็นปัจจัยในการพัดพาละอองไอน้ำให้ไปรวมกันตามบริเวณต่างๆ เมื่ออุณหภูมิลดลงจะตกลงมาเป็นฝน
# ลมที่เกิดตามปกติของประเทศไทยที่ทำให้เกิดฤดูฝน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้จะพัดพาไอน้ำจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่พื้นที่ของประเทศทำให้เกิดฝนตก เป็นช่วงฤดูกาล
#ลมที่เกิดเป็นกรณีพิเศษ คือ ลมพายุ (ลมพายุไต้ฝุ่น ลมพายุทอร์นาโด ลมพายุเฮอริเคน) ลมพายุจะเกิดขึ้นในมหาสมุทร มีกำลังแรงมาก จะพัดพาเอาไอน้ำจำนวนมหาศาลเข้าสู่พื้นดิน ไอน้ำจะรวมตัวกันตกลงมาเป็นฝนจำนวนมากเป็นระยะเวลายาวนาน
4. ภูเขาและป่าไม้ ภูเขาเป็นส่วนที่สูงขึ้นมาจากผิวโลกจึงเป็นเหมือนกำแพงที่กั้นปะทะให้ไอน้ำมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ป่าไม้จะคายไอน้ำ ทำให้อุณหภูมิต่ำลงและทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก ภูเขาและป่าไม้จึงเป็นบริเวณที่ฝนจะตกมากเป็นพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ไม่มีภูเขาและป่าไม้
ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/21.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์