วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

โครมาโทกราฟี

โครมาโทกราฟี
วิธีโครมาโทกราฟี เป็นวิธีการแยกสารออกจากกัน โดยเฉพาะการแยกสารละลายที่เป็นสารเนื้อเดียวและมองเห็นเพียงสีเดียว วิธีนี้นิยมใช้ทดสอบกับสารที่มีสีหลักการของวิธีโครมาโทกราฟีเป็นการแยกสารโดยอาศัยความแตกต่างของสมบัติด้านต่างๆ ของสาร เช่น สมบัติในการละลาย ขนาดของโมเลกุล ประจุ เป็นต้น วิธีการนี้อาศัยสมบัติของการละลายในตัวทำละลาย และตัวดูดซับ ทั้งนี้เนื่องจากสารแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายและถูกดูดซับบนตัวดูดซับต่างกัน จึงทำให้สารแต่ละชนิดแยกออกจากกันได้ สารที่ละลายได้ดีในตัวทำละลายจะถูกพาให้เคลื่อนที่ออกมาก่อนเมื่อผ่านตัวดูดซับ สารแต่ละชนิดก็จะถูกดูดซับไว้ได้ไม่เท่ากัน โดยสารที่ถูกดูดซับน้อยจะเคลื่อนที่ออกมาก่อน ส่วนสารที่ถูกดูดซับได้ดีจะเคลื่อนที่ออกมาที
หลังประโยชน์ของวิธีการโครมาโทกราฟี
1.ใช้แยกสารเนื้อเดียวที่มีส่วนผสมมากกว่า 2 ชนิด เพื่อให้ได้สารบริสุทธิ์
2.ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณและชนิดของสาร
ข้อดี
1.ถ้ามีสารตัวอย่างจำนวนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทดสอบได้
2.สามารถแยกองค์ประกอบต่างๆ ในสารเนื้อเดียวออกจากกันได้
3.สามารถทดสอบการแยกสารแต่ละชนิดออกจากกันได้ และบอกได้ว่าสารแต่ละชนิดที่แยกออกมาได้นั้นมีร้อยละเท่าไร
ข้อจำกัด
ในกรณีที่องค์ประกอบต่างๆ เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้เท่ากันหรือเกือบเท่ากัน จะไม่สามารถแยกสารที่เป็นส่วนประกอบออกมาได้
ความรู้เพิ่มเติม
เรื่อง โครมาโทกราฟี
โครมาโทกราฟี
(Chromatography)
โครมาโทกราฟี เป็นเทคนิคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในแง่ของการแยกสาร และการวิเคราะห์ โครมาโทกราฟี แปลว่า “การแยกออกเป็นสี” (The production of color scheme) ดังนั้นจึงนิยมใช้แยกสารที่มีสีจากกัน ทั้งนี้เพราะสามารถตรวจสอบได้ง่ายจากสีของสารเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามโครมาโทกราฟี ก็สามารถใช้แยกและวิเคราะห์สารที่ไม่มีสีได้เช่นกัน แต่ต้องมีวิธีการตรวจหาตำแหน่งของสารที่เฉพาะเจาะจงต่าง
หากหลักการที่สำคัญของโครมาโทกราฟี
โครมาโทกราฟี มีหลักการสำคัญอยู่ที่การละลายของสารละลายในตัวทำละลาย และการถูกดูดซับโดยตัวดูดซับ สารที่จะแยกด้วยวิธีโครมาโทกราฟีจะละลายในตัวทำละลายได้ไม่เท่ากัน และถูกดูดซับโดยตัวดูดซับได้ไม่เท่ากัน ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วไม่เท่ากันและแยกออกจากกันได้
วิธีการทั่วๆ ไปเมื่อต้องการแยกสารออกจากกันโดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี ให้นำสารผสมนั้นมาละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสม แล้วให้เคลื่อนที่ผ่านไปบนตัวดูดซับ เนื่องจากอัตราการเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายของสารแต่ละชนิดในตัวทำละลาย และความสามารถในการดูดซับของตัวดูดซับที่มีต่อสารนั้น สารที่ละลายได้ไม่เท่ากันและถูกดูดซับไม่เท่ากันก็จะเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน ทำให้แยกออกจากกันได้ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์