วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552


ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/16-3.JPG&imgrefurl=http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/16.htm&usg=__gbYJJEeXioHWWmJ1jrjpRGLqYzE=&h=347&w=382&sz=18&hl=th&start=16&tbnid=x7yWvfxhvi8STM:&tbnh=
การกลั่น (Distillation)

การกลั่น จัดว่าเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่งสำหรับการทำของเหลวให้บริสุทธิ์ ใช้แยกของเหลวหรือของแข็งกับของเหลวที่ผสมกันเป็นสารละลายเนื้อเดียวออกจากกัน โดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือด
การกลั่นเป็นกระบวนการที่ทำให้ของเหลวได้รับความร้อนจนกลายเป็นไอ แล้วทำให้ควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีก ในขณะที่กลั่นของผสม ของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำจะกลายเป็นไอแยกออกมาก่อน ของเหลวที่ที่มีจุดเดือดสูงขึ้นจะแยกออกมาภายหลัง
การกลั่นมีหลายประเภท เช่น
• การกลั่นแบบธรรมดา
• การกลั่นลำดับส่วน
• การกลั่นโดยการลดความดัน
• การกลั่นด้วยไอน้ำ

1.การกลั่นแบบธรรมดา

การกลั่นแบบธรรมดาเหมาะสำหรับการแยกสารละลายที่ตัวถูกละลายเป็นสารที่ระเหยยาก และตัวถูกละลายมีจุดเดือดสูงกว่าตัวทำละลายมาก เช่น น้ำเชื่อม น้ำเกลือ นอกจากนั้นยังใช้แยกของเหลว 2 ชนิด ที่มีจุดเดือดต่างกันมาก ๆ เช่น ต่างกันมากกว่า 80 0 C ออกจากกันได้ “ในขณะที่กลั่นตัวทำละลายจะแยกออกมา ตัวถูกละลายจะยังคงอยู่ในขวดกลั่น” ทำให้ตัวทำละลายที่บริสุทธิ์แยกออกจากสารละลาย
ตัวอย่างเช่น การกลั่นน้ำเกลือ ซึ่งประกอบด้วย น้ำ (จุดเดือด 1000 C) และเกลือโซเดียมคลอไรด์ (จุดเดือด 1,413 0 C) เมื่อสารละลายได้รับความร้อน จะมีแต่น้ำเท่านั้นที่กลายเป็นไอออกมา เมื่อไอน้ำผ่านเข้าไปในเครื่องควบแน่นซึ่งมีน้ำเย็นไหลเวียนตลอดเวลา ไอน้ำจะควบแน่นได้ของเหลว คือน้ำบริสุทธิ์ออกมา ในขณะที่เกลือยังคงอยู่ในสารละลายในขวดกลั่น ถ้ายังคงกลั่นต่อไปจนแห้งจะเหลือแต่เกลืออยู่ในขวดกลั่น จึงทำให้สามารถแยกน้ำกับเกลือออกจากกันได้

ลักษณะโดยทั่วไปของเครื่องกลั่นแบบธรรมดา จะเป็นดังนี้
ในกรณีที่ตัวทำละลายและตัวถูกละลายมีจุดเดือดใกล้เคียงกัน หรือในกรณีที่ตัวทำละลายและตัวถูกละลายเป็นสารที่ระเหยง่ายทั้งคู่ เช่น น้ำ (จุดเดือด 1000 C) กับเอธานอล(จุดเดือด 780 C) หรือเบนซิน (จุดเดือด 800 C) กับโทลูอีน จุดเดือด 1100 C) จะกลั่นแบบธรรมดาไม่ได้ เนื่องจากตัวทำละลายและตัวถูกละลายจะกลายเป็นไอออกมาด้วยกัน ทำให้ได้สารที่ไม่บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะใช้อุณหภูมิช่วงใด ก็ไม่สามารถแยกสารให้บริสุทธิ์ได้ ถ้าต้องการได้สารที่บริสุทธิ์ จะต้องกลั่นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เรียกว่า การกลั่นลำดับส่วน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์