วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552


ฟ้าทะลายโจร เหมาะสำหรับ "หวัด ร้อน" คืออาการที่เหงื่อออก เจ็บคอ กระหายน้ำ ท้องผูก ปัสสาวะมีสีเข้ม แต่ฟ้าทะลายโจร จะไม่เหมาะกับผู้ที่มี อาการของ "หวัดเย็น" คือ ไม่มีเหงื่อ อุ้งมือ อุ้งเท้าเย็น ปัสสาวะมาก รู้สึกหนาวสะท้าน"ฟ้าทะลายโจร ยาที่มีความหมายในตัวเองไม่น้อย เพราะแม้แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟ้าประทานมาให้ปราบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือน เหล่าโจรร้าย ส่วนในภาษาจีนกลาง ยาตัวนี้มีชื่ออย่างเพราะพริ้งว่า "ชวนซิเหลียน" แปลว่า "ดอกบัวอยู่ในหัวใจ" ซึ่งมีความหมายสูงส่งมาก วงการ แพทย์จีนได้ยกฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบ เป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มี ฤทธิ์แรงพอ ที่จะรักษาโรคได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น
สำหรับความโดดเด่นของฟ้าทะลายโจรนั้น มีสารสำคัญในการรักษาโรค คือ สารแอนโดรแกรโฟไลด์ (Andrographpolide) ซึ่งทางวงการแพทย์ จีนกำหนดว่ามี 1.5% ก็ใช้เป็นยาได้แล้ว และเป็นที่น่ายินดีที่ใบฟ้าทะลายโจรในเมืองไทยมีสารสำคัญตัวนี้ถึง 1.7% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับยาตัวใหม่ แล้ว ฟ้าทะลายโจรจัดอยู่ในจำพวกยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลินและเตตราซัยคลิน ซึ่งเป็น ยาแผนปัจจุบันครอบจักรวาลเลยทีเดียว แต่ปลอดภัยกว่า เพราะไม่มีพิษต่อตับ และไม่ตกค้างในร่างกาย ซ้ำยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคบางอย่างดีกว่ายาแผนปัจจุบันเสียอีก นอกจากนี้ยังมี การทดลองทางคลินิกของโรงพยาบาลบำราศนราดูร พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสามารถรักษาโรคบิด ท้องร่วงและโรคท้องเสีย ชนิดเฉียบพลัน ได้ดีเท่ากับเตตราซัยคลิน
ฟ้าทะลายโจรจึงไม่เพียงแก้ร้อนในได้ผลเท่านั้น หากยังสรรพคุณเด่นแก้ไข้หวัด ตัวร้อน ระงับการอักเสบเจ็บคอ แก้ติดเชื้อ และเป็นยาขมเจริญอาหาร จึงนับได้ว่าฟ้าทะลายโจรเป็นยาครอบคลุมได้กว้างขวางเหมาะสำหรับเป็นยาสามัญประจำบ้านแบบไทย ๆ ได้อย่างดียิ่ง
ปัจจุบันมีการนำฟ้าทะลายโจรมากทำเป็นลูกกลอน
หรือใส่แคปซูลเพื่อความสะดวก
ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เริ่มที่จะสนใจสมุนไพรสารพัดประโยชน์ตัวนี้ เขามีเคล็ดลับในการกินยาฟ้าทะลายโจรให้ได้ผลดี ดีซึ่งเคล็ดลับนั้นมีอยู่ว่า จะต้องกินตอนเริ่มมีการอาการเป็นไข้ เจ็บคอ และท้องเสีย โดยกินครั้งละ 5 เม็ดขึ้นไป แต่ถ้ามีอาการมากให้กินได้ถึงครั้งละ 10 เม็ด วันละ 3-4 เวลา ก่อนอาหาร ถ้ากินเป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ใช้ขนาดตั้งแต่ 3-4 เม็ดหรือหากบริเวณบ้านของคุณพอจะมีที่ว่างอยู่สักหน่อยก็ลองหาฟ้าทะลายโจรมาปลูกกันดู ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชที่ขึ้นได้ง่ายสามารถปลูกได้ดีทุกสภาพ แวดล้อม ซึ่งเราสามารถใช้ส่วนใบของฟ้าทะลายโจรมากินสดได้เลยก็จะยิ่งดีอย่างไรก็ตาม แม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวางและแม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะดูเหมือนจะมีพิษน้อย แต่เนื่องจากเป้ฯ ยาเย็นจัด การกินฟ้าทะลายโจรรักษาโรคนาน ๆ ติดต่อกันหลายปีอาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย แขนขาไม่มีแรง เป็นต้น แต่ถ้ากินวันละ 1-2 เม็ด เป็นยาอายุวัฒนะสามารถกินได้เรื่อย ๆ ไม่มีพิษอะไรจากประสบการณ์ของผู้ใช้ มีข้อสังเกตว่าผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร เพราะยาฟ้าทะเลาโจรตัวนี้เป็นยาที่มีสรรพคุณในการลด ความดันอยู่แล้ว ถ้าหากผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำ และมาใช้ฟ้าทะลายโจรจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน มึนงง วิธีแก้คือหยุดยาทันที ภายใน 3-4 ชั่วโมง อาการจะดีขึ้น เพราะตัวยาสามารถถูกขับออกไปไม่มียาตกค้างในร่างกายฟ้าทะลายโจรที่เหมาะสำหรับ "หวัด ร้อน" คือ อาการที่เหงื่อออก เจ็บคอ กระหายน้ำ ท้องผูก ปัสสาวะมีสีเข้ม แต่ฟ้าทะลายโจร จะไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการของ "หวัดเย็น" คือ ไม่มีเหงื่อ อุ้งมืออุ้งเท้าเย็น ปัสสาวะมาก รู้สึกหนาวสะท้าน ถ้าเป็นหวัดเย็น แล้วกินฟ้าทะลาโจรอาการ จะกำเริบขึ้นได้ เช่น หนาวสั่น คลื่นไส้ ดังนั้นก่อนที่จะกินฟ้าทะลายโจรแก้ไข้ จึงควรพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์