วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เป็นที่ยอมรับกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราศาสตร์ พระองค์ได้ทรงวางรากฐานที่จะนำวิทยาการใหม่ของยุโรปเข้ามาพัฒนาประเทศ วิทยาศาสตร์แผนใหม่ตลอดจนเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทมาตั้งแต่สมัยพระองค์ท่านสิ่งใดแปลกใหม่แม้ไม่ทรงได้เคยรู้มาก่อน ก็ทรงตั้งพระทัยติดตามศึกษาหาความรู้ด้วยน้ำพระทัยของนักวิทยาศาสตร์ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีการพบปะกันเพื่อพิจารณาหาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้ตกลงมีมติเลือกเอา วันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ทางด้านรัฐบาลหลังจากได้รับความเห็นแล้ว ได้มีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน อนุมัติ ให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นไป และได้ประกาศยกย่องว่าพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยด้วย นับว่าเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง

พระอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ของ ร.4

สิ่งจะกล่าวต่อไปนี้คือ ข้อสรุปที่แสดงให้เห็นพระอัจฉริยะภาพทางวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่าน ว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" เนื่องในโอกาส เฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์อายุครบ 200 ปี โดยแบ่งผลงานทางวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกเป็นสองประเภท คือ

1. การวางพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย

ในการดำเนินการทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น นักวิทยาศาสตร์จะต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยพื้นฐาน 3 อย่างคือ ระยะทาง (L) มวลสาร (M) และเวลา (T) ในสองหน่วยแรกนั้นทุกชาติสามารถจะให้คำจำกัดความได้ตามที่ตนต้องการ ไม่ว่าจะพิจารณาจาก ประเพณีนิยมหรือจากหลักการทางวิทยาการแผนใหม่ แต่สำหรับหน่วยที่สามคือ เวลานั้น ทุกชาติเห็นพ้องต้องกันว่าควรใช้หน่วย ของวินาที โดยถืออัตราเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในรอบปีเป็นหลัก พระองค์ท่านได้ทรงสถาปนาระบบ เวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทยคือในปี พ.ศ. 2395 ได้ทรงสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศนัยขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อใช้เป็น หอนาฬิการักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง ทำการรักษาเวลา มาตรฐานโดยการใช้นาฬิกาปรมาณูจาก Caecsium-133 แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงต้องเทียบเวลาของตนจากสัญญาณวิทยุของหอ ดูดาวหลักของโลก เช่น หอดูดาวกรีนิชแห่งประเทศอังกฤษ เป็นต้น หอดูดาวหลักนี้นอกจากจะต้องมีนาฬิกาปรมาณูแล้ว ยังต้อง เทียบเวลาจากตำแหน่งดาวบนท้องฟ้าทุกวันอยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาเวลาให้ระบบของนาฬิกาประมาณูตรงกับเวลาในระบบทาง ดาราศาสตร์ตามเดิมด้วย ในสมัยพระองค์ท่านโลกยังไม่มีการสื่อสารทางวิทยุ ดังนั้นการเทียบเวลาของหอนาฬิการภูวดลทัศนัย จึงต้องเทียบกับระบบทางดาราศาสตร์โดยทรง ซึ่งปรากฎว่าพระองค์ท่านทรงสามารถรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยก่อน ที่ประเทศไทยจะมีหน่วยงานนี้เกิดขึ้นในสมัยต่อมา พระราชกรณียกิจอันนี้ นอกเหนือจะแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทาง วิทยาศาสตร์ในส่วนของพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านยังได้สถาปนาระบบเวลามาตรฐาน ซึ่งเป็นหน่วยหลักพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ให้แก่ประเทศไทย จึงถือได้ว่าพระองค์ท่านได้ทรงวางรากฐานแก่วิทยาศาสตร์ของประเทศ และในการนี้มีข้อที่น่า ยินดีอีกข้อหนึ่งที่เราควรทราบคือ การสถาปนาระบบเวลามาตรฐานของประเทศไทยนั้นมิได้กระทำภายหลังประเทศมหาอำนาจ ของโลกในสมัยนั้น กล่าวคือ รัฐสภาอังกฤษผ่านพระราชบัญญัติเวลามาตรฐานของอังกฤษ (Greenwich Mean Time) ในปี ค.ศ.1880 และในปี ค.ศ.1884 ที่ประชุมนักดาราศาสตร์ในกรุงวอชิงตัน ได้ตกลงให้เส้นเมอริเดียนที่ผ่านเมืองกรีนิชประเทศ อังกฤษเป็นเมอริเดียนหลัก เพื่อการเทียบเวลาของโลก แต่พระองค์ท่านได้ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานของประเทศไทย ก่อนหน้านี้ และได้ทรงใช้เวลามาตรฐานนี้เป็นหลักในการทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411) ปรากฏว่าได้ผลถูกต้อง

2. ผลงานทางด้านการวิจัย

ในยุคร่วมสมัยของพระองค์ท่านนั้น นักดาราศาสตร์กำลังสนใจ "ปัญหาของสามวัตถุ" (Three Body Problem) และ "ปัญหาของนานาวัตถุ" (N-Body Problem) นักคิดที่เด่นในสมัยนั้นหรือก่อนหน้านั้นและหลังจากนั้น จะทุ่มเทสติปัญญา เพื่อการหาวิธีคำนวณตำแหน่งดวงจันทร์ ซึ่งโคจรรอบโลกภายใต้แรงรบกวนจากดวงอาทิตย์ และทั้งโลกและดวงจันทร์ขณะเมื่อ โคจรรอบดวงอาทิตย์นั้น ก็ยังได้รับแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ดวงอื่นด้วย ดังนั้นจึงถือได้ว่ายุคของพระองค์ท่านนั้น โลกของ วิทยาศาสตร์ถือการแก้ปัญหาทั้งสองนี้เป็นงานวิจัยกลับในสาขาดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ปรากฎว่าพระองค์ท่าน ได้ทรงเข้าร่วมในงานวิจัยนี้ด้วย โดยได้ทรงทำการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาซึ่งการคำนวณเช่นนี้จะต้องแบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 การคำนวณหาตำแหน่งของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โดยใช้ทฤษฏีการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ (Theory of Lunar Motion) ซึ่งในสมัยนั้นยังดำเนินการศึกษาวิจัยกันอยู่ในต่างประเทศ นักวิจัยร่วมสมัยของพระองค์ท่านที่ถือว่าเด่นมากคือ Delaunay ได้ผลิตผลงานออกมาเป็นช่วงๆตั้งแต่ปี ค.ศ. 1860 ถึง ปี ค.ศ. 1867 ซึ่งในช่วงเวลานี้ ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าพระองค์ ท่านได้ทรงเริ่มทำการศึกษาวิจัยแล้ว กล่าวคือ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระองค์ท่านได้ทรงเริ่มต้นศึกษา Lunar Theory ประมาณปี ค.ศ. 1863 (พ.ศ. 2406) ในสมัยเดียวกันกับที่นักดาราศาสตร์ที่เด่นที่สุดของยุคนั้นกำลังทำการศึกษาวิจัยอยู่เช่นกัน ซึ่งปรากฏว่า พระองค์ท่านทรงสามารถทำการคำนวณตำแหน่งเทหวัตถุหลักของการเกิดสุริยุปราคานี้ได้อย่างถูกต้อง
ขั้นที่ 2 หลังจากทำการคำนวณตำแหน่งดวงอาทิตย์ วงจันทร์ได้แล้วจะต้องทำการคำนวณเพื่อตรวจสอบว่าจะมีโอกาส เกิดอุปราคาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ผ่านไป ถ้าไม่สามารถเกิดได้จึงจะเข้าสู่การคำนวณขั้นต่อไป คือ
ขั้นที่ 3 ค. ทำการคำนวณว่าการเกิดอุปราคาครั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีนี้คือ การเกิดสุริยุปราคาจะมีลักษณะ อย่างไรเช่น เป็นชนิดมืดหมดดวงหรือชนิดวงแหวน หรือชนิดมืดบางส่วน และจะเห็นได้ที่ไหน เวลาเท่าไรถึงเท่าไรตามระบบ เวลามาตรฐานซึ่งจะต้องนำมาใช้ในการคำนวณด้วยตลอดตั้งแต่ต้น
ปรากฏว่าพระองค์ท่านได้ทรงกระทำการคำนวณได้อย่างถูกต้องทั้งในลักษณะของการเกิด เวลาที่เกิดและตำบลที่จะ สังเกตซึ่งข้าพเจ้าได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบจากหลักฐานการคำนวณของหอดูดาวกรีนิชแล้ว ปรากฏว่าระบบคำนวณของ พระองค์ท่านถูกต้องแต่ตัวเลขของพระองค์ไม่มีในระบบของกรีนิแสดงว่าพระองค์ท่านได้ทรงคำนวณขึ้นมาด้วยพระองค์เอง มิได้นำเอาผลการคำนวณของฝรั่งมาดัดแปลงประยุกต์สำหรับประเทศไทยแต่อย่างใด ซึ่งรายละเอียดในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าได้ แสดงให้ที่ประชุมนักวิทยาศาสตร์ของไทยได้เห็นแล้วอย่างชัดเจน ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2525 ซึ่งสรุปสาระสำคัญว่า
1.พระองค์ท่านทรงคำนวณด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ชั้นสูงจะใช้การคำนวณด้วยวิธีของโหราศาสตร์มิได้

2.ต้องคำนวณด้วยพระองค์เองทั้งสามขั้นตอน
3.หลักฐานทางฝ่ายกรีนิชนั้นแสดงให้เห็นว่า ไม่เปิดโอกาสให้สามารถนำเอาตัวเลขในนั้นมาทำการคำนวนเพิ่มเติมต่อ เพื่อหาว่าการเกิดคราสครั้งนั้นจะเห็นในเมืองไทยในลักษณะใด เวลาเท่าใด
4.พระองค์ท่านทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาครั้งนั้นล่วงหน้าถึง 2 ปีในสมัยนั้นเป็นไปไม่ได้ที่หลักฐานการคำนวณของกรีนิชจะสำเร็จ และส่งมาถึงพระองค์ท่านก่อนเวลาได้นานถึงเพียงนั้น
5.การคำนวณของทางฝ่ายกรีนิชแสดงแต่เฉพาะแนวศูนย์กลางของการเดินทางของเงามืดผ่านบริเวณภาคใต้ของ ประเทศไทยเป็นเส้น Locus เพียง 1 เส้นเท่านั้นแต่ผลการคำนวณของพระองค์ท่านได้พยากรณ์ว่าการเกิดคราสครั้งนั้นจะเห็น มืดหมดทุกดวงตั้งแต่ชุมพรขึ้นมาถึงปราณบุรี แต่ที่กรุงเทพจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังไม่หมดวง โดยจะเห็นดวงอาทิตย์ ขณะเกิดคราสเต็มที่ที่กรุงเทพ โผล่พ้นดวงจันทร์ออกมาทางด้านทิศเหนือประมาณ1 ใน 10 ส่วน ซึ่งข้าพเจ้าได้แสดงพิสูจน์ให้ที่ ประชุมดังกล่าวเห็นเป็นประจักษ์แล้วว่า พระองค์ท่านทรงคำนวณได้อย่างถูกต้องเพียงไร นอกจากมิได้ทรงอาศัยข้อมูลจากการ คำนวณของฝ่ายต่างประเทศแล้ว พระองค์ท่านยังทรงสามารถคำนวณได้โดยละเอียดพิสดารนอกเหนือจากที่ต่างประเทศกระทำด้วย
นอกจากการที่พระองค์ท่านจะได้ทรงมีพระปรีชาสามารถทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระปรีชา สามารถในด้านดาราศาสตร์เดินเรือ (Colestral Navigation) ด้วยคือ ทรงสามารถหาตำแหน่งเส้น รุ้งเส้นแวงของเรือพระที่นั่ง กลไฟกลางทะเลยด้วยพระองค์เอง โดยทรงวัดมุมสูงของดวงอาทิตย์ด้วยกล้องเซกสแตนท์ (Sextant) เทียบกับเส้นแวงที่ผ่าน เมอริเดียนของพระที่นั่งภูวดลทัศนัย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นแห่งการนำเอาวิทยาการแผนใหม่มาใช้ในประเทศ โดยที่พระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้ดำเนินการด้วยพระองค์เอง ด้วยวิริยอุตสาหะและอัจฉริยภาพอันสูงเกินกว่าจะหาคำมาพรรณนาได้
ในยุคเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ของโลก เราจะพบว่ามีนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยที่จะต้อง ได้รับเคราะห์กรรมอันเกิดจากการศึกษาวิจัยของตน เช่น นักดาราศาสตร์ต้องตาบอดเพราะการศึกษาจุดดำในดวงอาทิตย์ นักนิวเคลียร์ฟิสิกส์ในสมัยเริ่มต้นต้องได้รับการทรมานจากโรคภัยอันเกิดจากสารกัมมันตรังสีจนถึงแก่กรรมในที่สุด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับเชื้อไข้มาเลเรียจากการที่พระองค์ท่านได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ ที่พระองค์ท่านได้ทรงคำนวณไว้นั่น ละทำให้พระองค์ท่านต้องสูญเสียพระชนมชีพเพราะการศึกษา วิจัยทางวิทยาศาสตร์โดยแท้
โดยเหตุนี้จึงเป็นการสมควรที่นักวิทยาศาสตร์ไทยจะได้ระลึกถึงพระเกียรติคุณอันสูงส่งของพระองค์ท่าน และสมควรที่จะ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสัมญญาว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ในโอกาสที่ประเทศไทยจะทำการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ในวาระที่มีอายุครบ 200 ปีนี้ เพื่อทรงเป็นมิ่งขวัญของนักวิทยาศาสตร์ของชาติสืบไป

ที่มา
http://202.143.141.162/elibrary/section/sec3science/scientist/King_rama4_P2.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์