วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สสาร
สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ ส่วน สาร เป็นเนื้อของสสาร เช่น ตะปู เป็นสสาร โดยมีเหล็กเป็นเนื้อของสสาร ฉะนั้น สารและสสารจึงมีความหมายใช้แทนกันได้สมบัติของสารแบ่งได้เป็น สมบัติทางกายภาพและทางเคมี ดังนี้
1. สมบัติทางกายภาพ หมายถึง สมบัติที่สังเกตเห็นจากลักษณะภายนอก เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การนำไฟฟ้า จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น ความถ่วงจำเพาะ การละลาย ความแข็ง ฯลฯ
2. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภายในของสารและเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี เช่น ความเป็นกรด-เบส การทำปฏิกิริยากับสารอื่นการจำแนกสารโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์จะได้ 2 ประเภท
1. สารเนื้อเดียว หมายถึง สารที่มีเนื้อสารและสมบัติเหมือนกันโดยตลอด ไม่ว่าจะสังเกตโดยวิธีใด เช่น น้ำ อากาศ โลหะบัดกรี ก๊าซหุงต้ม ทองบรอนซ์
2. สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมปนกัน แล้วได้เนื้อสารที่มีเนื้อสารแตกต่างกัน สมบัติจึงไม่เหมือนกันตลอดเนื้อสาร และแยกออกจากกันได้ง่าย เช่น น้ำคลอง พริกกับเกลือ น้ำอบไทยสารละลายกับสารบริสุทธิ์สารละลาย (Solution) สารละลายเป็นสารเนื้อเดียวที่เกิดจากสารบริสุทธิ์ตั่งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมกัน โดยไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี แต่เกิดการละลายและองค์ประกอบของสารยังเหมือนเดิม ประกอบด้วยตัวทำละลาย และตัวถูกละลายสารบริสุทธิ์ (Pure substance) เป็นสารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียวกันตลอด จึงมีสมบัติเหมือนกัน เช่น เงิน ทองคำสมบัติทั่วไปของสารบริสุทธิ์
1. มีจุดเดือด จุดหลอมเหลว คงที่
2. มีช่วงในการหลอมเหลวแคบ
3. ไม่สามารถแยกองค์ประกอบได้โดยวิธีกายภาพ เช่น การกลั่น การกรอง เว้นแต่จะแยกทางวิธีเคมีวิธีการพิจารณาสารละลายและสารบริสุทธิ์
1. การระเหยแห้ง
- ถ้ามีของแข็งเหลืออยู่ แสดงว่า เป็นสารละลาย
- ถ้าไม่มีของแข็งเหลืออยู่เลย ยังสรุปไม่ได้ ต้องนำไปหาจุดเดือดก่อน
2. ดูการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ขณะเดือด
- ถ้าจุดเดือดคงที่ แสดงว่า เป็นสารบริสุทธิ์
- ถ้าจุดเดือดไม่คงที่ แสดงว่า เป็นสารละลายธาตุและสารประกอบธาตุ (Element) เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมที่เหมือนกันไม่สามารถแยกออกไปเป็นสารอื่นด้วยวิธีธรรมดา หน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุที่ยังรักษาสมบัติของธาตุไว้ได้ คือ อะตอมสารประกอบ (Compounds) เป็นสารเนื้อเดียวเกิดจากการรวมตัวของธาตุตั่งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปโดยเกิดปฏิกิริยาเคมี และเป็นไปตามกฎสัดส่วนคงที่สัญลักษณ์และการเรียกชื่อธาตุ
- จอห์น ดอลตัน เป็นคนแรกที่เสนอให้ใช้สัญลักษณ์ของธาตุโดยใช้ภาพ
- โจนส์ จาคอย เบอร์ซีเลียส ใช้อักษรเป็นสัญลักษณ์แทนชื่อธาตุ และใช้จนปัจจุบัน โดยเขียนอักษรภาษาอังกฤษหรือละตินเป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ถ้าตัวหน้าซ้ำกันให้เขียนอักษรตัวถัดไปด้วยตัวพิมพ์เล็กสารและสมบัติของสาร

การเปลี่ยนแปลงสาร
การเปลี่ยนแปลงสาร แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ( Physical Change ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกี่ยวกับสมบัติกายภาพ โดยไม่มีผลต่อ องค์ประกอบภายใน และ ไม่เกิดสารใหม่ เช่น การเปลี่ยนสถานะ , การละลายน้ำ
- การเปลี่ยนแปลงทางทางเคมี ( Chemistry Change ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทางเคมีซึ่งมีผลต่อองค์ประกอบภายใน และจะมีสมบัติต่างไปจากเดิม นั่นคือ การเกิดสารใหม่ เช่น กรดเกลือ ( HCl ) ทำปฏิกิริยากับลวด แมกนีเซียม ( Mg ) แล้วเกิดสารใหม่ คือ ก๊าซไฮโดรเจน ( H2 )

การจัดจำแนกสาร
จะสามารถจำแนกออกเป็น 4 กรณี ได้แก่
1. การใช้สถานะเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- สถานะที่เป็นของแข็ง ( Solid ) จะมีรูปร่าง และ ปริมาตรคงที่ ซึ่งอนุภาคภายในจะอยู่ชิดติดกัน เช่น ด่างทับทิม ( KMnO4 ) , ทองแดง ( Cu )
- สถานะที่เป็นของเหลว ( Liquid ) จะมีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ และ มีปริมาตรที่คงที่ ซึ่งอนุภาคภายในจะอยู่ชิดกันน้อยกว่าของแข็ง และ มีสมบัติเป็นของไหล เช่น น้ำมัน , แอลกอฮอล์ , ปรอท ( Hg ) ฯลฯ
- สถานะที่เป็นก๊าซ ( Gas ) จะมีรูปร่าง และ ปริมาตรที่ไม่คงที่ โดยรูปร่าง จะเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ อนุภาคภายในจะอยู่ ห่างกันมากที่สุด และ มีสมบัติเป็นของไหลได้ เช่น ก๊าซหุงต้ม , อากาศ
2. การใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ จะมีสมบัติทางกายภาพของสารที่ได้จากการสังเกตลักษณะความแตกต่างของเนื้อสาร ซึ่งจะจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- สารเนื้อเดียว ( Homogeneous Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารเหมือนกันทุกส่วน ทำให้สารมีสมบัติเหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น แอลกอฮอล์ , ทองคำ ( Au ) , โลหะบัดกรี
- สารเนื้อผสม ( Heterogeneous Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารแตกต่างกันในแต่ละส่วน จะทำให้สารนั้นมีสมบัติ ไม่เหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น น้ำอบไทย , น้ำคลอง ฯลฯ
3. การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ จะจำแนกได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- สารที่ละลายน้ำได้ เช่น เกลือแกง ( NaCl ) , ด่างทับทิม ( KMnO4 ) ฯลฯ
- สารที่ละลายน้ำได้บ้าง เช่น ก๊าซคลอรีน ( Cl2 ) , ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ฯลฯ
- สารที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น กำมะถัน ( S8 ) , เหล็ก ( Fe ) ฯลฯ
4. การนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ จะจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- สารที่นำไฟฟ้าได้ เช่น ทองแดง ( Cu ) , น้ำเกลือ ฯลฯ
- สารที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น หินปูน ( CaCO3 ) , ก๊าซออกซิเจน ( O2 )


ที่มา http://thapring.com/Pingpong_web/Matter.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์