สารละลาย สารคอลลอยด์ และสารแขวนลอย
สารละลาย คอลลอยด์ สารแขวนลอย
เมื่อผสมสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจจะได้เป็นสารเนื้อเดียว หรือสารเนื้อผสมก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่จะนำมาผสมกันว่าจะรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันได้หรือไม่ สำหรับสารที่รวมกันเป็นเนื้อเดียว ภายในสารผสมนั้น อนุภาคของสารหนึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างอนุภาคของอีกสารหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ จนการสังเกตด้วยตาเปล่าอย่างเดียวจะบอกความแตกต่างของสารผสมเนื้อเดียวเหล่านั้นไม่ได้ สารเหล่านั้นอาจจะเป็นสารละลาย คอลลอยด์ หรือสารแขวนลอย ซึ่งมีสมบัติบางอย่างคล้ายกัน แต่มีขนาดของอนุภาคที่แตกต่างกัน
1. สมบัติบางประการของสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอย
สารละลาย หรือ สารละลายแท้ (Ture solution) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่อนุภาคของตัวถูกละลายจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10-7 เซนติเมตร (หรือ 0.001 ไมโครเมตรหรือ 10 อังสตรอม) เช่นสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต, สารละลายกรดไนตริก , สารละลายกรดซัลฟูริก , สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง ) เป็นต้น
คอลลอยด์ (Colloid) มาจากภาษากรีก Kolla + Eidos ซึ่งหมายถึงสารที่มีลักษณะคล้ายกาว เช่น นมสด วุ้น เยลลี่ เป็นต้น
คอลลอยด์ (Colloid) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่มีอนุภาคของตัวถูกละลาย หรืออนุภาคของสารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตร
สารแขวนลอย (Suspension) หมายถึง สารผสม ที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10-4 เซนติเมตร (หรือ 1 ไมโครเมตร) กระจายอยู่ ถ้าอนุภาคที่อยู่ในสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่มากจะมองเห็นส่วนผสมได้ชัดเจน ซึ่งเมื่อวางทิ้งไว้อนุภาคของสารแขวนลอยจะตกตะกอนออกมา แต่ถ้าอนุภาคมีขนาดเล็กจะกระจายแบบกลมกลืนจนดูเสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งทำให้แยกออกได้ยากกว่าเป็นสารแขวนลอยหรือคอลลอยด์
ดังนั้นสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยจึงแบ่งได้โดยอาศัยขนาดของอนุภาคเป็นเกณฑ์ ซึ่งขนาดของสารแขวนลอย > คอลลอยด์ > สารละลาย
2.การกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนถึงแม้ว่าสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่ที่สุด แต่บางครั้งก็ดูกลมกลืนจนตัดสินด้วยตาเปล่าไม่ได้ ในทางปฏิบัติจึงใช้วิธีตรวจสอบขนาดของอนุภาคโดยใช้กระดาษกรองและเซลโลเฟน
กระดาษกรอง จะกรองอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-4 เซนติเมตรขึ้นไป
เซลโลเฟน จะกรองอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-7 เซนติเมตรขึ้นไป
ก. สารละลาย จะกรองผ่านได้ทั้งกระดาษกรอง และเซลโลเฟน เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 10-7 เซนติเมตร
ข. คอลลอยด์ จะกรองผ่านกระดาษกรองได้ แต่กรองผ่านเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-7 เซนติเมตร(จึงผ่านเซลโลเฟนไม่ได้) และเล็กกว่า 10-4 เซนติเมตร(จึงผ่านกระดาษกรองได้) นั่นคือมีขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตร
ค. สารแขวนลอย จะกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตร
ที่มา www.airphy.blogspot.com
วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แบบทดสอบเรื่องสารละลายกรดและเบส
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ
2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์
3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ
4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )
5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ
1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน Neutralization reaction เช่น NaOH + HCl = NaCl + H2o
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ
2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์
3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต จะได้เกลือน้ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ
4.ข้อใดทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์ จะได้เกลือและก๊าซข้อใด
ก.ออกซิเจน
ข.ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH )
ค.ไฮโดรเนียมไอออน
ง.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า )
5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก.เบส
ข.กรด
ค.กลาง
ง.ถูกทุกข้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น